“…**‘ผู้ดับสนิทแล้ว ความคิดมีอยู่หรือ
และต่างจากความคิดโดยธรรมดาอย่างไร ?’
ต่างกัน** แต่อาตมาก็ไม่ใช่เป็นผู้ดับกิเลสตัณหาอันใด
ให้มากมายหรอก เป็นคนธรรมดานี่แหละ
แต่หากมีความเข้าใจอย่างนี้
แต่ก่อนนั้นบ่ฮู้จัก มันคิดไปร้อยอันพันอย่าง-บ่ฮู้จัก
บัดนี้มาเห็น-มารู้แล้ว ‘โอ…ความคิดมันเป็นจังซี่เด๊’
เลยเข้าใจจังซี่
จนว่า**ทำให้มันถึงที่สุดของความคิดนี่แหละ
มันก็เลยเปลี่ยนหน้ากากออกมา**
เหมือนกับเฮาไปเบิ่งหนัง เฮาไปเบิ่งแต่จอหนังพู่น
เฮาบ่ได้เห็นกล้องถ่ายรูป(ที่ฉาย)ออกไปให้ถูกกับจอหนังพู่น
เฮาก็เลยไปติดอยู่พู่น
บัดนี้กลับเข้ามาเบิ่งทางจอหนัง
บ่อนเขาถ่ายรูปออกไป(จาก)กล้อง กล้องหนังนี่-หลวงพ่อบ่รู้จัก
หลวงพ่อบ่เคยรู้จัก หลวงพ่อเอามาเปรียบเทียบให้ฟังซื่อ ๆ
‘ความคิดที่แตกต่างของความคิด ๓ ระดับ
กล่าวคือ *ความคิดของปุถุชนเป็นอย่างไร ?’
ความคิดของปุถุชนนั้นคือ บ่เห็นความคิด-บ่เห็นจักเทื่อ
การเคลื่อนไหวของตัวเอง ก็บ่เคยกำหนดกฎเกณฑ์ซักเทือ*
อาตมาเคยทำบุญ เคยรักษาศีล
เคยทำกรรมฐานมาเล็ก ๆ น้อย ๆ
ให้ว่าพอสมควร จึงว่าบ่เชื่อคน(อื่น)
(อาตมา)บ่เคยเห็นซักเทือ
เมื่ออายุ ๔๖ ปีนี่แหละ **อาตมามาทำความเคลื่อนไหว
พลิกมือขึ้น-ก็ฮู้เมื่อ(รู้สึกตัว) คว่ำมือลง-ก็ฮู้เมื่อ
แล้วเลยฮู้จักความคิดอันนั้น**
*ความคิดของปุถุชน คิด-บ่ฮู้จัก
หนัก แต่บ่ฮู้จักว่าหนักนะ-ความคิดนี่
แต่ว่าหนัก เพราะบ่ฮู้จัก
เฮาหาบของหนักแล้ว เราบ่ฮู้จักของหนัก
มันหนัก แต่มันบ่แม่นหาบของหนัก
มันหนักที่ใจพู่นเด๊
นี่แหละความคิดของปุถุชน* ไปจังซั่น
บัดนี้ **‘ความคิด(ของ)ผู้ที่เห็นความคิดแล้วนั้น เป็นอย่างไร ?’
ผู้ที่เห็นความคิดแล้วนั้นก็เทือเห็น-เทือบ่เห็น
(บางครั้งก็เห็น-บางครั้งก็ไม่เห็น)
เทือได้-เทือเสีย(ได้บ้าง-เสียบ้าง) ให้ว่าเถอะไป
อันนั้นเรียกว่าผู้เห็นความคิดแล้ว
แต่หากเทือเห็น-เทือบ่(เห็น)**
คล้าย ๆ คือ เพิ่นว่า‘ผู้เห็นพระนิพพานผู้หนึ่ง
ผู้หนึ่งบ่ทันเห็นพระนิพพาน
การทำบุญนั้น ก็ปรารถนา-อ้อนวอนเอา
**ผู้ที่เห็นทางแล้วนั้น พยายามให้มันถึงพระนิพพาน’** เพิ่นว่า
บัดนี้ **‘ความคิดที่บริสุทธิ์ของพระอรหันตสาวก
หรือความคิดของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอย่างไร
ต่างกันอย่างไร ?’
ต่าง** แต่อาตมาก็บ่รู้จักหรอก-ความคิดของพระอรหันต์
ความคิดของพระสาวกหรือพระพุทธเจ้านั้นก็ได้
เพราะว่าเฮาก็บ่ได้เป็นพระอรหันต์
เฮาจะว่าเป็นสาวก(ของ)พระพุทธเจ้าก็ได้
หรือว่าบ่เป็นก็ได้ เพราะว่าเชื่อมั่นในตัวเอง
*ความคิดของปุถุชนนั้นหนัก-แน่นอยู่*
ความคิดของผู้ที่เห็นความคิดแล้ว เรียกว่า‘เห็นธรรม’
เห็นธรรมก็เห็นนิพพานนั่นแล้ว แต่หากเอานิพพานมาใช้บ่ได้
นี่ตามความคิดของอาตมานี่
คล้าย ๆ คือคนตกน้ำ
คนตกน้ำบางคนก็จมลงไปฮอดพื้นดิน ก็ยันขึ้นมา
แล้วบ่ทันได้เหลียวเบิ่งตาฝั่งอันใด(ไม่ทันได้ดูทิศทางของฝั่ง)
จมไปอีกตื่ม นั้นเป็นภาษาปุถุชน-เปรียบเทียบได้จังซี่
บัดนี้ผู้หนึ่งตกน้ำลงไป จมฮอดพื้นดิน
แล้วก็ลอยยันพื้นดินขึ้นมา พ้นน้ำขึ้นมา
ก็เหลียวเห็นตาฝั่ง ก็เลยพยายามลอยไป
เพราะตีนบ่ถึงดินเด๊ ลอย(ว่าย)ไปได้จนเท้าถึงดิน-ผู้หนึ่ง
ผู้หนึ่งตกน้ำลงไป น้ำก็เพียงหัวเข่า
หรือกลางแข้ง-กลางขา ก็ย่างไป
**ผู้หนึ่งนั่งอยู่ตาฝั่งนั่นแล้ว เบิ่งทางนั้น-ทางนี้
อันนี้เรียกว่า‘ความคิดของผู้ที่พ้นแล้ว’ ให้ว่าเถอะไป
มันผิดกันจังซี่-คือบ่หนัก แต่ความคิดมีคือกัน
แต่ว่าอยู่เหนือความคิด คือว่ามันบ่หลงความคิด**
นี่แหละ-เข้าใจจังซี่
ตามความคิด-ความเห็น ตามความเข้าใจของอาตมา…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น