“…‘ปุถุชนจะอยู่เหนือกรรมได้หรือไม่ ?’
แต่เมื่อเป็นปุถุชนอยู่ ยังอยู่เหนือไม่ได้
แต่**ปุถุชนนั่นแหละ สามารถที่จะทำให้จิตใจหลุดพ้นได้
ถ้าหากว่าจิตใจหลุดพ้นแล้ว ไม่ต้องทำอะไรก็ได้
แต่เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่นั้น จำเป็นต้องทำ-จำเป็นต้องศึกษา
ถ้าหากรู้แจ้ง-รู้จริงแล้ว จะศึกษาทำไม-เพื่ออะไร…ก็รู้แล้ว
คนที่ยังไม่รู้นั่นแหละ ต้องศึกษา**
*แต่เมื่อยังไม่รู้ ก็อยู่เหนือกรรมไม่ได้*
**แต่เมื่อรู้แล้ว จึงจะอยู่เหนือกรรมได้**
*แต่อยู่เหนือกรรมก็ยังไม่รู้-ปุถุชน อยู่ใต้กรรม-ก็ยังไม่รู้
ดังนั้นจึงว่า‘ปุถุชนเป็นผู้หนา’*
คำถามอย่างเดียวกัน แต่ว่ามันไม่เหมือนกัน
ข้างเคียงคล้าย ๆ คือกัน แต่ผู้ตอบ-ผู้แก้ก็คล้าย ๆ กัน
มันจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องวัดได้ ก็**ต้องรู้เอง-เห็นเอง**
‘การนั่งสร้างจังหวะ ยกมือไป-เอามือมา
จะถือว่าเป็นการทำกรรมหรือไม่ ?’
ก็เป็นการกระทำกรรมเหมือนกัน
แต่ว่าตัวหลวงพ่อหรือตัวอาตมานี้เข้าใจว่า
การกระทำนี้คือกรรม การกระทำนั้นคือกรรม
กรรมจึงว่าเป็นการกระทำ
**ให้รู้สึกตัว-ตื่นตัว ให้รู้สึกใจ-ตื่นใจ**
*เมื่อไม่รู้สึกตัว-ก็ไม่ตื่นตัว เมื่อไม่รู้สึกใจ-ก็ไม่ตื่นใจ*
นี่มันเป็นอย่างนี้
**เมื่อรู้สึกตัว-ตื่นตัว รู้สึกใจ-ตื่นใจ
การทำ-พูด-คิด ก็รู้สึก(ได้)ดี**…เป็นอย่างนั้น
‘การเป็นอยู่ของสัตว์โดยธรรมชาติ เป็นกรรมหรือไม่ ?
ตัวอย่างเช่น แมวกินหนู หรือพรหมเข้าฌาน เป็นต้น’
ก็มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นอาหารของสัตว์
แมวมันกินหนู มันเป็นอาหารของมัน-มันตรงข้าม
ที่เป็นอาหารของมัน-มันต้องกิน เพราะมันไม่รู้
มันต้องกิน มันกินดิบ-กินแดงไปอีกเสียด้วยนะ
มันไม่เคยต้ม-เคยหุงกินหรอก
อย่างเสือหรือแมว หรือสัตว์อื่น ๆ นี่แหละ
(ตอน)กิน-มันไม่เคยใช้ไฟ แต่ว่า(ใช้)ไฟธาตุของมัน
มันสามารถที่จะเผาอาหารอันนั้นได้เช่นเดียวกัน
แล้วคนกินดิบก็มี-กินสุกก็มี ไฟธาตุก็เผาเช่นเดียวกัน
ดังนั้นจะถือว่ากรรมก็ได้ จะถือว่าไม่กรรมก็ได้
เพราะความเป็นอยู่-สัญชาตญาณของสัตว์ต้องเป็นอย่างนั้น
อย่างพรหมเข้าฌานก็เช่นเดียวกัน เพราะมันเป็นอาหาร
เป็นที่อยู่-เป็นที่พักผ่อน ได้ทำแล้วก็สบายใจ
เขาเล่ากันมา-แต่หลวงพ่อไม่รู้ เรียกว่าพรหมลูกฟัก
อะไรต่าง ๆ เหล่านั้นแหละ
เพราะความเคยชิน ความเข้าใจเป็นอย่างนั้น
ดังนั้นจึงว่า**‘พวกเราควรศึกษา
และควรปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา’**
พุทธศาสนาสอนไม่เหมือนกับลัทธิอื่น ๆ
ลัทธิอื่น ๆ สอนก็ไม่เหมือนกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าสอน ก็สอนไปตามอุดมการณ์ของพระพุทธเจ้า
**เมื่อเราเชื่อฟังว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ยิ่ง-เห็นจริง
เป็นผู้รู้แจ้ง-เป็นผู้อยู่เหนือกรรมได้ เป็นผู้เอาชนะได้
เราก็ต้องปฏิบัติตาม**
ถ้าหากว่าเราไม่เชื่อฟัง ไม่มีความเห็นตามอุดมการณ์
คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ทำอย่างใดก็ได้
เรื่องที่ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง
สิ่งที่ผิดกฎหมายบ้านเมืองนั้น (ทำ)ไม่ได้
ต้องมีคุก-มีตะราง เอาไปลงโทษกัน…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น