“…**อันความรู้สึกตัวนั้น
เราเรียกว่า‘สัญญา-ความหมายรู้จำได้’**
เราว่าอย่างนั้น
*คำว่า‘สัญญา’ (อย่างที่)เราไปเรียนหนังสือ(แล้วจำได้)
หรือว่ามีสิ่งของอะไรวางไว้ที่ไหน (มี)สัญญาจำได้
อันนั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เป็นสัญญาวิปัสสนา*
แต่ว่าคนส่วนมากเห็นสิ่งนั้นแหละ เป็นสัญญาของวิปัสสนา
คำว่า‘สัญญา’คำเดียวนี่ (ความหมาย)มันมาก
คำว่า**‘สัญญา(วิปัสสนา)’ หมายถึงการเคลื่อนไหว-รู้สึกตัว**
นี่…หลวงพ่อว่าอย่างนี้
แล้วก็จำได้
**เอียงซ้าย-เอียงขวา รู้สึกตัว
เรียกว่าสัญญาอันนี้ (สัญญาวิปัสสนา)
(กะ)พริบตาลืมขึ้น-หลับลง ให้รู้สึก
อันนี้เรียกว่าสัญญาอันนี้ (สัญญาวิปัสสนา)
ตามันเหลือบซ้าย-แลขวา ให้รู้จัก
อันนี้เรียกว่าสัญญาอันนี้ (สัญญาวิปัสสนา)
บัดนี้จิตใจมันนึกมันคิด ให้รู้จัก
(นี่ก็เรียกว่า)สัญญาอันนี้ (สัญญาวิปัสสนา)
เรียกว่า ‘รู้เท่า-รู้ทัน รู้จักกัน-รู้จักแก้
รู้จักเอาชนะความคิดตัวเองได้’**
อันนี้เป็นเบื้องแรก
เมื่อรู้อย่างนี้ รู้มากเข้า-รู้มากเข้า
เหมือนกับเราเอาน้ำเทใส่ขวดแก้ว
บ้านหลวงพ่อเรียกว่า ‘น้ำใส่ขวดแก้ว’
เอาน้ำเทใส่แล้ว มันเต็มแล้ว
น้ำมันล้นแก้ว มันไหลออกไป
เมื่อน้ำไหลออกไป-มันถูกดิน ดินมันก็ชุ่ม-ก็เย็น
เมื่อดินชุ่ม-ดินเย็นแล้ว
รากไม้อยู่ใกล้ ๆ น่ะ มันก็เข้ามาดูดซึมเอาไป
เรียกว่าเป็นการบำบัด หรือว่าบำรุง
ให้ฝุ่น-ให้ปุ๋ย ให้น้ำ
ต้นไม้ก็งาม
ดังนั้น อันนี้ก็เช่นเดียวกัน
**เมื่อมันรู้สึกตัวทุกสิ่ง-ทุกอย่างพร้อมแล้ว
เรียกว่า(มี)สัญญาอย่างสมบูรณ์
เมื่อสัญญาจำได้ (ก็)เกิดญาณปัญญา
‘ญาณ’ จึงว่าเข้าไปรู้ สัมผัสแนบแน่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น
เรียกว่า‘ญาณของปัญญา’
ปัญญาก็รอบรู้
รู้อะไร ? รู้ตัวเรา**
‘สัมมาทิฏฐิ’ กับ ‘มิจฉาทิฏฐิ’ มันอยู่ที่ตรงนี้ …”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น