“…**คนใดทำให้รู้แล้ว ต้องรู้ได้หมด
เพราะว่าธรรมะอันนี้-มันอยู่กับคน
ทำให้ทุกข์-ให้สุข มันขึ้นอยู่กับคน
ต่างแต่ว่า‘คน’นั้น มันมีสติปัญญาแตกต่างกัน
เรื่องสูง-ต่ำ-ดำ-ขาวต่างกัน
แต่ว่าเรื่องธรรมะนั้น ไม่มีต่างกันเลยแม้นิดเดียว
ถ้ารู้ ก็รู้อันเดียวกันนี้หมดทุกคน
ยุคพระพุทธเจ้า ท่านก็รู้ธรรมะอันนี้
สาวกของพระพุทธเจ้า ท่านก็รู้ธรรมะแบบนี้
ผู้รู้เดี๋ยวนี้ ก็รู้ธรรมะแบบนี้**
ท่านจึงว่า‘พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องเคารพพระธรรม’
‘เคารพพระธรรม’นั้น หมายถึงว่า
จะต้องไปกราบ-ไปไหว้อยู่อย่างนั้นหรือ ?
เปล่า ไม่ต้องไปกราบ-ไปไหว้อันใดดอก
**‘เคารพพระธรรม’
นั่นก็หมายถึง การอยู่กับการกระทำนั่นแหละ
ไม่พูดผิด-ไม่ทำผิดนั่นแหละ
ท่านเรียกว่า‘เคารพพระธรรม’ เคารพมันไว้
เคารพตัวของเรานี่แหละ
ทำดี-พูดดี-คิดดี อย่าให้ทุกข์เกิดขึ้น
ท่านเรียกว่า‘เคารพ’ ไม่ใช่ไปกราบ-ไปไหว้**
ที่ไปกราบ-ไปไหว้นั้น มันอีกเรื่องหนึ่ง
ท่านเรียกว่า‘กาย’
อันนี้เป็นวัตถุภายนอก คน(อื่น)มองเห็น
**ตัวเคารพพระธรรมจริง ๆ นั่นคือ
เราเห็นตัวเรานี่ ไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้นนี่**
ถ้าทุกข์เกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ?
โอ้! ก็อย่างว่านั่นแหละ-ทุกข์
ท่านจึงว่า**‘ศึกษากับธรรมชาติของมันจริง ๆ’
ธรรมชาติมันสร้างมาให้แล้ว**
ยกตัวอย่าง
หมู่เพื่อนนั่งฟังผมพูดอยู่เดี๋ยวนี้ ขอถามหน่อย
หลวงพ่อเทียน : เป็นอย่างไร-จิตใจของหมู่ท่านในขณะนี้ ?
พระ : ซื่อ ๆ อยู่
หลวงพ่อเทียน : เอ้า! ใครเป็นอย่างไรบ้าง ว่ามาเลย
หมู่นั้นล่ะ เป็นอย่างไรจิตใจ ?
พระ : เฉย ๆ อยู่
หลวงพ่อเทียน : ไปทำอย่างไรให้มัน ?
พระ : ไม่ได้ทำอะไรครับ
หลวงพ่อเทียน : นี่แหละ จึงว่าธรรมชาติมันสร้างให้จริง ๆ
แล้วไปทำการ-ทำงานจะได้ไหม
ถ้ามันเฉย ๆ อยู่อย่างนี้ ?
พระ :ได้ครับ
หลวงพ่อเทียน : แล้วจะเหนื่อย-จะล้าไหม ?
พระ :ไม่เหนื่อย-ไม่ล้าครับ
หลวงพ่อเทียน : แน่ะ! แล้วทำไมถึงไม่อยากทำ
ไม่อยากปฏิบัติ-ไม่อยากศึกษา ทำไม ?
พระ : — (ไม่มีใครตอบ) —
หลวงพ่อเทียน : เพราะเราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจ
*เมื่อเราไม่เข้าใจแล้ว ก็เลยเกิดความไม่รู้ขึ้น*
**ของน้อย ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนน้อย ๆ รู้เลย
ของสบาย ๆ แล้วก็รู้เลย
ของสั้น ๆ ท่านว่า‘อึดใจเดียว-ทำได้เลย’**
จึงว่า*‘วัฏสงสารยืนยาวนาน เพราะคนไม่รู้’*
วัฏสงสารที่ชื่อว่า
‘นอนไม่หลับ-กลางคืนมันก็ยาว
การเดินทางก็ยาวไกล-ไม่ถึงง่าย’
ทีนี้ **‘ถ้าเราทำอย่างนี้อยู่(เราเห็นตัวเรา ไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้น)
มันไม่ยาว-ไม่สั้น ไม่อะไรทั้งนั้น-มันเฉย ๆ อยู่’
ลักษณะอย่างนี้แหละที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
‘ควรศึกษา-ควรฝึกหัด’
เมื่อรู้แล้ว ก็ต้องสอนกันต่อไป**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น