“…ดังนั้น ที่เราเห็นในตำรับ-ตำรานั้นว่า
‘การปฏิบัติธรรมะ ต้องเป็นขั้นตอนไป’
เพิ่นว่าตามตำรับ-ตำรา ข้อแรกเรียกว่า‘เป็นปฐมฌาน-
ทุติยฌาน-ตติยฌาน-จตุตถฌาน และปัญจมฌาน’
‘ฌาน’แปลว่ารู้-แปลว่าเห็น-แปลว่า เข้าใจ
แปลว่าเข้าไปสัมผัสกับสิ่งนั้น ๆ อยู่เสมอ
เพิ่นเรียก‘ฌาน’
แล้วบัดนี้ต่อมาผู้แปลหนังสือ หรือผู้เขียนหนังสือ
หรือเป็นครู-เป็นอาจารย์ก็ตาม (แปล)ฌานว่าเข้า
เข้าไปแล้วเหาะได้ หรือไปเพ่งแล้วก็เหาะได้ ดำดิน-บินบน
เข้าใจไปอย่างนั้น
อันนั้นชื่อว่า‘เข้าใจไปกับตำรับ-ตำรา’ บ่แม่น
หลวงพ่อเข้าใจ ปฏิบัติธรรมนี่รู้จั่งซี้
**‘ฌาน’ แปลว่าเข้าไปรู้-เข้าไปอยู่กับสิ่งนั้น ๆ ซือ ๆ นี่นะ
ไปคลุกคลีอยู่ คล้าย ๆ เราไปจับ-มันคลุกคลีอยู่กับมือเรานี่
เราเลยรู้จัก มันคิดมา-เราก็รู้จักโลด**
‘ฌาน’แปลว่าเข้าไป บ่แม่นซิเอาหัวมุดเข้าไป
ดังนั้น **การเข้าไปเห็นความคิด-เห็นชีวิตของเรา
จึงมีประโยชน์มากที่สุด**
*อันความคิดนั้น มันคิดอยู่ตลอดเวลา
มื้อหนึ่งมันคิดไปตั้งร้อยเรื่อง-พันเรื่อง-หมื่นเรื่อง-แสนเรื่อง
เราบ่เคยเห็นมันจักเทื่อ
เรารู้ความคิด เราบ่เห็นความคิด-เราบ่เข้าใจความคิด*
อันนั้นเพิ่นเอิ้น‘ปรุงแต่ง’-เอิ้น‘สังขาร’
หากพูดตามตำรับ-ตำรา ก็‘สังขารนั่นเป็นการปรุงแต่ง
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร’
‘อวิชชา’ แปลว่าความบ่รู้จัก
อันความบ่รู้จัก
บ่แม่นบ่รู้จักหาเงิน-หาทอง (บ่รู้จัก)กินข้าว-กินน้ำ
บ่แม่นอันนั้น-บ่แม่น
อวิชชาอันนั้น (คือ)อวิชชา(ที่)คนเข้าใจผิดเว้าซือ ๆ
*‘อวิชชา’ คือบ่เห็นชีวิต บ่เห็นจิต-เห็นใจเรานี่’*
พระพุทธเจ้าเพิ่นเว้าน้อย ๆ
แล้วบัดนี้เราก็เอิ้น‘อวิชชา แปลว่าความไม่รู้’
ความบ่รู้อันใด ?
คือความบ่รู้ตำรับ-ตำรา ความบ่รู้การทำมาหากิน ความบ่รู้ตัวเอง
โอ้-มันกว้าง…อันนั้น-แปลอย่างนั้น
เรื่องการแปลหนังสือนั้น ดีอยู่แล้ว
แต่ว่ามันอาจบ่ถึงจุดสำคัญมันก็ได้
ดังนั้น **การปฏิบัติธรรมะ เพื่อให้เข้าถึงจุดสำคัญของมันจริง ๆ**
*‘อวิชชา’ แปลว่าความไม่รู้*
**‘วิชชา’ แปลว่ารู้
รู้อันใด ?
รู้จิต-รู้ใจ รู้ชีวิตของเรานี่
เพราะว่าเราเห็นจิต-เห็นใจ เห็นชีวิตของเรานี่**
เพิ่นสอนจั่งซี้
‘วิชชา’ แปลว่ารู้
หรือว่าฌาน ‘ฌาน’แปลว่าเข้าไปรู้
เข้าไปคลุกคลีอยู่กับสิ่งอันนั้น…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น