“…เมื่อรู้จักอันนี้ดีแล้ว(ศีลขันธ์-สมาธิขันธ์-ปัญญาขันธ์)
ก็เลยรู้จักอธิศีลสิกขา-อธิจิตตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา
อันนั้นมันเป็นตำราพูด แต่**ความจริงที่มันปรากฏขึ้นมานั้นว่า
‘ศีลขันธ์-สมาธิขันธ์-ปัญญาขันธ์’ ผมเข้าใจอย่างนั้น
พอดีรู้อันนี้แล้วก็สมาธิเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง
เลยรู้จักสมถกรรมฐานกันที่ตรงนี้
‘สมถกรรมฐานนั้น-มันสงบเรื่องนั้น
ที่เราทำมาแล้วนั้น-มันสงบไปอย่างนั้น’…เข้าใจ**
จึงว่าผมกล้ายืนยันรับรองการกระทำของตัวเอง
แต่คนอื่นจะเป็นอย่างไร ไม่รู้-ไม่ทราบ
เรื่องความสงบแบบนี้ ผมเคยพูดบ่อย ๆ ละว่า
‘ใครต้องการ-ทำได้ไม่เกิน ๓๐ วัน ต้องรู้-ต้องเข้าใจ’
สมาธิที่ไปนั่งให้มันตัวแข็งทื่อเนี่ยะ ผมทำ…ผมมีวิธี-มีเทคนิค-มีกลไก
รู้จักวิธีที่จะนั่งอย่างนั้น-ให้มันไปเป็นอย่างนั้น มันสงบได้จริง
เรียกว่า*‘สมถกรรมฐานเป็นอุบายให้สงบใจเท่านั้น’
เมื่อสงบอย่างนั้น มันไม่ใช่สงบจริง-มันสงบแบบไม่รู้
เรียกว่า‘รู้อย่างไม่รู้’ อันนี้น่ะ*
**ส่วนรู้อย่างผู้รู้นั้น ต้องรู้จริง-เห็นจริง-เข้าใจจริง**
สมถะกับวิปัสสนา มันจึงแยกกันที่ตรงนี้
**วิปัสสนา มันไม่ใช่สงบอันนั้น
อันนั้นมันสงบสมถกรรมฐาน เกิดความรู้-ความเห็น-ความเข้าใจ**
*(สงบ)จำพวกนี้อยู่ในอำนาจของกาม
กามนี้-ใครก็รู้นี่…กามก็เป็นกิเลสแล้วนี่ กามาสวะ-ภวาสวะ-อวิชชาสวะ
จำพวกสมถกรรมฐาน จึงไปติดความสงบอยู่ในอำนาจของกาม
อยู่ในอำนาจของภพ-อยู่ในอำนาจของอวิชชา จึงไม่รู้-เข้าใจอย่างนั้น*
**เมื่อเราเห็นอันนี้แหละ อันนั้นก็เลยสลายไป
ก็เลยรู้จัก ‘เออนี่-สมถกรรมฐานมันติดอยู่แค่นี้
แล้วมันก็แยกไปข้างนั้น’**
สมมติให้ฟัง มันเหมือนกับเรามีทางไป-ทีแรก(มี)เส้นเดียว
แล้วมันไปแยกกันออกเป็น ๒ ทาง
ทางหนึ่งไปข้างขวา อีกทางหนึ่งไปทางซ้าย
ทีแรกที่เราเดินไปแต่ต้นทางนั้น มันเป็นทางเดียวกันซะ
แต่พอไปถึงที่นั่น-มันก็เลยแยกกัน มันเป็นอย่างนั้น
บัดนี้ถ้าเราเดินแยกไปข้างซ้าย-ก็ผิด ถ้าเรามาข้างขวานี้-ก็ถูกต้อง
ก็เลยมาเห็น-มารู้-มาเข้าใจ-สัมผัสแนบแน่น
คำว่า‘กาม’นี้ ไม่ใช่ว่ากามโดยที่สัมผัสทางเนื้อหนังนะ
คำว่า*‘กาม’อยู่ในอำนาจของกาม-อยู่ในอำนาจของภพ
คือมันตกอยู่ในอำนาจของจิตใจในความสงบ
อยู่ในอำนาจของความมีภพ-มีชาติ
ฉะนั้นจึงว่าอยู่ในอำนาจของอวิชชา-ไม่รู้*
คนโดยมากจึงได้เข้าใจว่า ตายแล้วจะต้องไปเป็นอย่างนั้น
ตายแล้วจะต้องไปเป็นอย่างนี้ ระลึกชาติได้
อันนั้น-อย่างนั้นก็ดีเหมือนกัน ผมไม่ได้ปฏิเสธ
คือความเห็นของคนนั้นเป็นอย่างนั้น
ซึ่งเมื่อก่อนนั้น ผมก็เข้าใจอย่างนั้น
แต่บัดนี้เรามาเข้าใจอย่างนี้ ก็เลยเลิกละจากสิ่งนั้นได้
ก็เลยมาเข้าใจเรื่องการกระทำดีด้วยกาย
กระทำดีด้วยวาจา กระทำดีด้วยใจ
‘ทำดีด้วยกาย’ คือเอากายนี้ไปทำดี-เอารูปนี้ไปทำดี
แต่คำพูดยังพูดชั่ว-พูดเลวทราม และใจก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าหากสวรรค์มี-จะไปเกิดอยู่ชั้นไหน นานเท่าใด…กี่ปี-กี่เดือน
ไปรู้อันนี้ล่ะ
ทำดีด้วยคำพูด ถ้าสวรรค์มี-จะไปเกิดชั้นไหน
ทำดีด้วยใจเฉย ๆ หากสวรรค์มี-จะไปเกิดชั้นไหน
นิพพานมี-รู้จัก
บัดนี้ทำดีด้วยกาย-ด้วยวาจา-ด้วยใจพร้อมกันเลย
อย่างที่พวกเรามาทำอยู่เดี๋ยวนี้นี่แหละ
กายก็ไม่ทำทุจริต-คำพูดก็ไม่ได้พูดโกหก และใจก็ไม่ได้คิดไปไหน
**รู้สึกตัวอยู่เสมอ** มันเข้าใจอย่างนั้น
**มันจึงพร้อมกันเข้าทั้งหมด มีทั้งศีล-มีทั้งสมาธิ-ทั้งปัญญา
พร้อมกันหมดแล้ว บริบูรณ์แล้วทุกสิ่ง-ทุกอย่างแล้วนี่**
ถ้าหากตายไป-สวรรค์มี จะไปเกิดชั้นไหน
นิพพานมี-จะไปเกิดชั้นไหน และจะเสวยผลนั้นนานกี่ปี-กี่เดือน
มันเข้าใจไปอย่างนั้น
ทีนี้เลยมาทางตรงกันข้าม
ทำบาป-ทำชั่วด้วยกาย…แต่คำพูด-พูดดี ส่วนมือ-เท้าเราทำชั่ว
ถ้าตายลงไปตกนรก…จะไปตกนรกขุมไหน นานกี่ปี-กี่เดือน-กี่วัน
นี่เข้าใจอย่างนั้น
ทำชั่วด้วยวาจา บัดนี้กายไม่ทำ-แต่วาจาทำ
พูดแต่ความเลวร้าย-พูดแต่ความชั่ว
ตายลงไป…ตกนรกขุมไหน นานกี่ปี-กี่เดือน
เข้าใจอย่างนั้น
ทำชั่วด้วยใจ รูปก็ไม่ทำ-คำพูดก็ไม่พูด…แต่ใจมันคิด
ใจมันคิดนี้ คนอื่นไม่เห็น-ไม่รู้นะ
ใจมันคิดชั่ว คิดอย่างนั้น-คิดอย่างนี้
ถ้าหากตายลง-จะไปตกนรกขุมไหน นานกี่ปี-กี่เดือน
เข้าใจอย่างนั้น
บัดนี้ชั่วทั้ง ๓(อย่าง)นั้น กายก็ทำชั่ว-คำพูดก็ชั่ว-ใจก็คิดชั่ว
รวมกันเข้าเป็นอันเดียวกัน
ตายลงไป-ตกนรกขุมไหน นานกี่ปี-กี่เดือน
มันเข้าใจอย่างนั้น มันแยกแยะไปอย่างนั้น
**พอดีเห็นอันนี้แหละ มันตรงกันข้าม
เหมือนกับอะไรต่าง ๆ มันหลุดออกไปทั้งหมดเลย
อาการเกิดดับก็ปรากฏขึ้นให้เห็น-ให้รู้-ให้เข้าใจ**
ผมเคยพูดให้ฟังว่า*‘คนที่จะหมดลมหายใจนั้น-จะต้องมาเป็นที่ตรงนี้
แต่มันไม่รู้อารมณ์ จึงไม่เห็น-ไม่รู้-ไม่เข้าใจสภาพ
หรือภาวะของอาการเกิดดับที่มาเกิดขึ้นที่ตรงนี้*
เรื่องเห็นการกระทำ และผลของการกระทำนั้น
เราจะเห็นความชั่วก่อนก็ได้ หรือจะมาเห็นความดีก่อนก็ได้
แต่*ถ้าหากว่าการเกิดดับนี้ยังไม่ปรากฏแล้ว ก็ไม่รู้-ไม่เข้าใจตัวนี้’*
คนอื่นเขาอาจจะรู้ คนอื่นเขาอาจจะเข้าใจ
แต่ที่ผมพูดนี้ **ผมรับรอง-ประกันว่า‘มันต้องรู้จริง-เห็นจริง
ความรู้แจ้ง-เห็นจริงนี้ มันต่างเก่าล่วงภาวะเดิม-ล่วงภาวะจริง ๆ’**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น