“…พระพุทธเจ้าว่าอย่างใด ตอนเพิ่นได้เป็นพระอรหันต์มานี่
เรียนแล้ว‘พุทธประวัติ’
เมื่อไปพบกับอุปกาชีวกผู้หนึ่ง เว้าความจริงให้ฟัง
ปุ๊บปั๊บ-ไปเลย อีตานั่นแลบลิ้น
โอ้! เว้าความจริงให้ฟัง-เป็นอย่างนี้
*คนต้องการความจริง (แต่)เอาความจริงให้-บ่เอา*
บัดนี้ไปพบพ่อค้าเกวียน ต้อง(พูด)อ้อม ๆ ให้ฟังเข้าใจ
แล้วบัดนี้ไปพบพวกปัญจวัคคีย์ เพิ่นก็ยังบ่ยอมฟัง
(พระพุทธเจ้าท่านว่า)‘ฟังก่อน-ฟังก่อน’
บอกให้ฟังหลายเทื่อ (ปัญจวัคคีย์ก็)อด(ทน)ตั้งใจฟัง
เมื่อฟังแล้ว ‘โอ้! คำ ๆ นี้-บ่เคยได้ยิน’
(เมื่อ)ไปพิจารณา อัญญาโกณฑัญญะเลยรู้
เมื่ออัญญาโกณฑัญญะรู้แล้ว พวกนั้นก็รู้ตาม
เมื่อรู้ตามแล้ว (พระพุทธเจ้า)เพิ่นสอนอย่างใด ?
บัดนี้พระพุทธเจ้าเพิ่นสอน มีเรียนแล้วในพุทธประวัติ
เพิ่นสอนให้เรียนนักธรรมตรี-นักธรรมโท
นักธรรมเอก เป็นมหา ? เพิ่นบ่ได้สอนอย่างนั้น
เพิ่นสอน(ว่า)**‘เธอรู้แล้ว ต้องไปทำหน้าที่
ไปประกาศ ไปสอนคะเจ้า
คะเจ้าทุกข์ ให้คะเจ้าพ้นทุกข์**
เธอไปทางพู้น อย่าไปนำกัน ๒ คน ๓ คน นะ
ไปบ่อนละคน เราซิไปทางพี้ผู้เดียว’
เพิ่นสอนอย่างนั้น
แต่อันนี้เราบ่เฮ็ดอย่างนั้น
เรารู้แล้ว ก็ยังต้องไปเอาเงิน-เอาเงินเดือน
นี่มันตรงกันข้าม
สอนแล้ว อยากเป็นผู้ใหญ่-อยากเป็นครู
มันตรงกันข้ามทั้งหมด
ดังนั้น*การสอน-การเรียน จึงว่ามันไกลจากความจริง
ก็เลยบ่ได้ความจริงจักเทื่อ*
**เมื่อสอนความจริง ก็ได้ความจริง
เมื่อสอนไปหาความจริง ก็ได้ความจริง**
*อย่าไปเข้าใจว่า‘พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
บ่มีมรรคผลนิพพาน-บ่มีในโลก’
โอ้! อย่างนี้เข้าใจผิดหนักที่สุด
พวกนี้นะ ทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยบ่รู้สึกตัว*
เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนท์ถาม
‘พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว
ผู้ใดจะเป็นครู-เป็นอาจารย์ เพื่อที่จะแนะนำสั่งสอน
จะยกให้ผู้ใดเป็นหัวหน้า-เป็นผู้สอน ?’
ตอนนั้น พระพุทธเจ้าบ่ได้บอกว่า
ให้องค์นั้นเป็น-ให้องค์นี้เป็น เพิ่นบ่ได้บอกอย่างนั้น
**เพิ่นยกให้ทุกคนเป็นแล้ว เป็นครู-เป็นอาจารย์
เพิ่นยกให้แล้ว
‘พระธรรมวินัย เรากล่าวไว้ดีแล้ว’
อันกล่าว(ไว้)ดีแล้ว (เรา)ต้องเรียนเอามาปฏิบัติ
‘พระธรรมวินัยนี่จะเป็นศาสดา
เป็นครู-เป็นอาจารย์สอนแทนเรา’**
*เดี๋ยวนี้เราบ่เอาอย่างนั้น
เรียนแล้ว-กูได้นักธรรมตรี กูได้นักธรรมโท
กูได้นักธรรมเอก กูได้มหาเปรียญอย่างนั้น-อย่างนี้
รู้อย่างนั้น-บ่แม่นความรู้ของเรา
ไปเรียนของผู้อื่นมาเว้า*
มันเข้าหลัก‘ลักของเขา ๑’ มันเข้าหลักเลย
‘พูดอวดอุตริมสธรรม’ คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์(ที่)ไม่มีในตน
นี่มันเข้าหลักอย่างนี้
ที่พูดมา ตำราไม่ได้พูดถึงตรงนี้…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น