“…**‘เคารพพระพุทธเจ้า’
ก็หมายถึง รู้แล้วก็ทำแทนพระพุทธเจ้าก็ว่าได้**
เพราะพระพุทธเจ้า‘ตาย’ก็ว่าได้ ‘นิพพาน’ก็ว่าได้
หรือ‘สวรรคต’ก็ว่าได้ มันเป็นเรื่องสมมติ
บัดนี้เราผู้ทำแทน ก็คือ**เรายังมีชีวิต
เรายังมีจิต-มีใจ ต้องประพฤติปฏิบัติตาม
ให้รู้แจ้ง-เห็นจริงตามความเป็นจริง
แล้วก็ออกมาเผยแพร่**
หรือพูดให้คนนั้น-พูดให้คนนี้ฟัง เรียกว่า‘เผยแพร่’
**หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
คลายเกลียวที่มันอัดแน่นนั้นออก ให้มันเบาขึ้นมา**
ทำไมพูดอย่างนั้น ?
ก็พูดความจริงนี่เอง ของจริง-เรื่องอะไร ?
คือ**เรื่องโทสะ-โมหะ-โลภะนี่เอง
เป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้**
*เรื่องอื่นนั้นเป็นการทำดีกับสังคมเท่านั้น*
อันนี้(เรื่องโทสะ-โมหะ-โลภะ)
เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องบุคคล
คนเฒ่า-คนแก่ ก็โกรธเป็น
คนหนุ่ม-คนสาว ก็โกรธเป็น
พ่อบ้าน-แม่เรือน ก็โกรธเป็น
เด็ก ๆ ก็โกรธเป็น
ยังโกรธ-โลภ-หลง (นั้นเป็น)ภาษาธรรมะ
เมื่อภาษาที่ผมปฏิบัติ ผมเห็น-ผมรู้-ผมเข้าใจ
ผมสัมผัสแนบแน่นกับตัวมันเองนั้น
(คือ)โทสะ-โมหะ-โลภะ
(หาก)ใครมีโทสะมาก
ต้องรู้-เห็น-เข้าใจ-สัมผัสโทสะก่อน
(หาก)ใครมีโลภะมาก ก็รู้-เห็น-สัมผัสโลภะ(ก่อน)
(หาก)ใครมีโมหะมาก ก็รู้-เห็น-สัมผัสโมหะก่อน
สิ่งใดมันหนัก-สิ่งใดมันมาก เราต้องเห็นอันนั้นก่อน
สัมผัสอันนั้นก่อน แนบแน่นอันนั้นก่อน
**เมื่อโทสะ-โมหะ-โลภะจางคลายไปแล้ว
เวทนาไม่ทุกข์-สัญญาไม่ทุกข์
สังขารไม่ทุกข์-วิญญาณไม่ทุกข์
อันนั้นแหละคือเป็นเทวดาแท้
หรือเป็นมนุษย์แท้ หรือเป็นพระก็ได้**
‘พระ’ จึงแปลว่าผู้ประเสริฐ
‘พระ’ จึงแปลว่าผู้สอนคน
สอนของจริง สอนให้คนรู้จัก
อันนี้เรียกว่า‘วิปัสสนา’ก็ได้
หรือว่ารู้จักหลักพระพุทธศาสนาก็ได้
หรือว่าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ได้
จึงว่า‘สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต’ เป็นเหมือนกัน
แต่ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
อย่างเจ้าชายสิทธัตถะกุมารนั้น
แต่ว่าอันความรู้-ความเห็น-ความเข้าใจ
ความสัมผัสนั้น เป็นเหมือนกัน-ไม่ผิดกันเลย
จะเป็นยุคใด-สมัยใด ก็เป็นเหมือนกัน
ให้เข้าใจอย่างนี้
แต่*อย่าเชื่อคำพูดของอาตมา*
**แต่ต้องปฏิบัติตาม ลองดู-มันจะจริงไหม ?
หรือมันไม่จริง
ท่านจะรู้เอง-เห็นเอง-เข้าใจเอง
ไม่ต้องรอใครที่ไหน** เป็นอย่างนั้น…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น