“…‘ทุกขัง’ คือการเคลื่อนไหว-ตัวจังหวะนั้นแหละครับ
จึงว่า**‘ให้ทำจังหวะ จะรู้ทุกข์ได้’**
‘ทุกขัง’ หมายถึงมันติดอยู่กับรูป
‘อนิจจัง’ หมายถึงไม่เที่ยง
‘อนัตตา’ (หมายถึง)บังคับบัญชาไม่ได้
**รูปอันนี้(บังคับบัญชา)ไม่ได้ครับ มันเป็นไปตามธรรมชาติ
แต่เรื่องจิตใจนั้น-แก้ไขได้ครับ** เป็นอย่างนั้น
เมื่อรู้อันนี้แล้ว ก็**ต้องรู้สมมติ
บัดนี้สมมติอะไร รู้ให้ครบ-ให้จบ-ให้ถ้วนครับสมมติ**
*พระพุทธรูปก็สมมติขึ้นมา
ไม้อยู่ป่า-เอามาฟันให้เป็นรูปพระ ก็สมมติ
บัดนี้ถ้าหากเอาอิฐ-เอาปูนก่อขึ้นมา
เป็นอิฐ-หิน-ดิน-ปูนธรรมดาครับ
มาก่อขึ้น มาทำเป็นรูป-เป็นทรงขึ้นมา
อันนั้นก็สมมติให้เป็นพระพุทธรูปขึ้นมาได้
จะเอาโลหะ-ทองแดง หรือทองเหลือง
เอาแก้ว เอาอะไรมาหล่อ-มาปั้น
อันนั้นก็เป็นเพียงสมมติเท่านั้นเอง ให้เรารู้จักจริง ๆ
จนกระทั่งบวชแล้วก็สึก สึกแล้วก็บวช
อันนี้ก็เป็นสมมติ เรียกว่า‘สมมติบัญญัติ-
ปรมัตถบัญญัติ-อรรถบัญญัติ-อริยบัญญัติ’
ให้รู้จักว่าสมมติจริง ๆ สมมติก็มีปรมัตถ์ด้วย
ตัวบทกฎหมาย(ก็)เป็นสมมติ
ให้ว่ารู้ให้ครบ-ให้จบ-ให้ถ้วนเรื่องสมมติจริง ๆ*
แต่**เรื่องปรมัตถ์ คือเรื่องจิตใจกำลังเห็น-
กำลังเป็น-กำลังมีอยู่นั้น เรียกว่า‘เป็นปรมัตถ์’ครับ**
รู้อันนี้ครบ-จบถ้วน
ผี-เทวดา ให้รู้
‘ผี’ ก็คือคนทำชั่ว-พูดชั่ว-คิดชั่วนี่เอง
‘เทวดา’ ก็คือคนพูดดี-ทำดี-คิดดีนั่นเอง
เรียกว่า‘หิริ-โอตตัปปะ’นี่เอง
มีความละอายแก่ใจนี่ เรียกว่า‘เป็นเทวดา’
เมื่อรู้อันนี้แล้ว ก็รู้ศาสนา
‘ศาสนา’ แปลว่าคำสั่งสอนของท่านผู้รู้
ใครรู้เรื่องอันใด ก็นำเรื่องนั้นมาสอน
เรียกว่า‘ศาสนา’
‘ศาสนา’คือตัวคนทุกคน ไม่ยกเว้น
คำว่า‘ศาสนา-พุทธศาสนา’
**‘พุทธะ’ จึงแปลว่าผู้รู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม
คือตัวสติ-ตัวปัญญานั่นแหละ เป็นพุทธะ
อันพูดนี่ เป็นเรื่องของปัญญานะครับ
ปัญญาจึงเป็นการรู้แจ้ง-รู้จริง
คนจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะปัญญา
อันนี้แหละเป็นปัญญาญาณของวิปัสสนา
‘ญาณ’ แปลว่าเข้าไปรู้
จึงเป็นปัญญาญาณเข้าไปรู้ คือรู้ที่ตัวเรานี่เอง**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น