“…พอดีตัวนั้นหยุดงานปั๊บ
หลวงพ่อเคยเฮ็ดให้เบิ่ง เอานิ้วมากดฝ่ามือที่มันแดง
ยก(นิ้ว)ออก (ฝ่ามือ)มันขาว
อย่างว่า**‘จิตใจบ่ต้องไปชำระมัน
มันมีอยู่แล้ว(ที่)จิตใจเรา ตัวชีวิตจิตใจเราจริง ๆ**
*ที่มันบ่สะอาด-ที่มันบ่สว่าง-ที่มันบ่สงบ
บ่แม่นชีวิตจิตใจของเรา
เราหลงคว้าเอานั่นมาซื่อ ๆ นี่นะ’**
หลวงพ่อเคยลองเบิ่ง
เอาเชือกไนลอนมัดข้างหนึ่งผูกเสานั้น-ข้างหนึ่งผูกเสานี้
แล้วเอามีดไปตัดตรงกลาง ตัดหรือเอาไฟไปจุด
เมื่อตัดตรงกลางแล้ว ดึงใส่กัน-บ่ถึงกันแล้ว
มันหด บ่ถึงกัน
เชือกส้นนั้นมาต่ออย่างนี้ บ่ถึงส้นนี้แล้ว-บ่ถึง
บัดนี้ครันเอาไปมัดทางพู้น มันบ่ถึงตรงกลาง
**มันหยุด มันแสดงชีวิตที่หยุด**
อย่างที่ว่า‘เห็นรูป อย่าไปคิดว่าดี-ว่าชั่ว’ อันนั้นก็แม่นอยู่
‘หูฟังเสียง อย่าไปคิดว่าเสียงดี-เสียงชั่ว’ อันนั้นก็แม่นอยู่
อันนั้นมันเป็นตำรา-อันนั้นนะ
คำว่า‘หยุด’ **หยุด-เป็นธรรมชาติของมัน**
**อันนี้ศึกษาธรรมะ เข้าไปหาตัวกฎของธรรมชาติ
มันเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นกฎตายตัวอย่างนั้น
ดังนั้นการปฏิบัติธรรมะ จึงว่า‘(ให้)รู้จริง ๆ-เข้าใจจริง ๆ’**
*เมื่อเราบ่รู้จริง(แล้ว)ไปสอนผู้อื่น มันผิด
เมื่อผิดแล้ว มันถูกบ่ ?
มันก็บ่ถูกแล้ว มันผิดแล้ว*
**ครันมันถูกแล้ว-มันซิผิดบ่ มันบ่ผิดแล้ว-ก็มันถูกแล้ว**
ที่หลวงพ่อเปรียบให้ฟัง คือ
เราไปกรุงเทพ ฯ ไปหา(พระ)
(แต่)เราบ่รู้จักว่าเพิ่นอยู่กุฏิใด
รูปร่างสัณฐานเพิ่นอย่างใด เรา(ก็)บ่รู้จัก
ตำหนิรูปพรรณ เรา(ก็)บ่รู้จัก
(แล้ว)มันซิไปรู้(ได้)อย่างใด (หากเรา)เอาคนที่บ่รู้จักพาไป
เราต้องไปก่อน **ซิไปสอนผู้อื่น-(เรา)ต้องไปก่อน
ไปเห็นรูปร่าง ลักษณะสัณฐาน
รู้จักบ้านเรือนตั้งอยู่นั้น-อยู่นี่
หน้าตาเพิ่นเป็นอย่างนั้น-อย่างนี้
(ครั้งต่อไป)เราไปเห็นบนถนน-หนทาง ก็จำได้
ขี่รถมาเห็น ก็จำได้
หรือย่างออกมาตามถนน-หนทาง ก็จำได้
อันนี้คือกัน การที่จะสอนธรรมะ-เป็นความลึกซึ้งที่สุด
คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ละเอียดที่สุด**
เหมือนกับน้ำมันที่ละเอียดที่สุด กลั่นกรองเอาแต่เนื้อล้วน ๆ
ดังนั้น เรามาศึกษาเอาทั้งเปลือก-ทั้งแก่น-ทั้งมอก(กระพี้)
ทุกสิ่ง-ทุกอย่างผสมผสานกัน
ดังนั้น **เรื่องการเจริญวิปัสสนานี้
จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ควรศึกษาให้รู้-ให้เข้าใจ
เมื่อศึกษา ได้รู้-ได้เข้าใจแล้ว…มันซิไม่ผิด**
ฉะนั้นเรื่องคำว่า‘จตุตถฌาน’ แปลว่า รวบรวม
‘ปัญจมฌาน’ แปลว่ามันสูญ
บ่แม่นสูญ(ที่แปลว่า)บ่มีเด๊ **มันมีอยู่-มันซิเป็นเอง
ความเป็นเองนี่แหละ
เพิ่นว่า‘เป็นกฎของธรรมชาติชนิดหนึ่ง’ เป็นอย่างนั้น
(ความเป็นชนิดนี้ เป็น)ความเป็น
ชนิดที่มีอยู่ในคนทุกคน ไม่ยกเว้น
จะเป็นคนชาติใดก็ตาม ถือศาสนาใดก็ตาม นุ่งผ้าสีอะไรก็ตาม
มีใน(คน)ทุกคน**
คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงว่า‘สอนคน’
‘ตัวคนจึงเป็นตัวศาสนา
วัดวาอารามก็แม่น(ศาสนา)อยู่-เป็นศาสนาสมมติ’
เพิ่นสอนอย่างนั้น
ดังนั้น **มีเปลือก-มีกระพี้-มีแก่น
เราต้องศึกษา-ต้องค้นคว้า-ต้องปฏิบัติให้รู้จริง ๆ**
*ถ้าเอาเปลือกไปเป็นแก่น ก็บ่ได้
หรือจะเอามอก(กระพี้)ไปเป็นแก่นใจกลาง ก็บ่ได้-มันบ่ได้*
ฉะนั้นจึงว่า‘เราอย่าเข้าไปอยู่ในมุ้ง’
อันเราเข้าไปอยู่ในมุ้งแล้ว มันซิบ่เห็นมุ้ง
ถ้าเราเข้าไปในถ้ำแล้ว (เรา)ซิบ่เห็นถ้ำ
**เรามาคอยเบิ่งความคิดนี่
มันคิดมาวูบหนึ่ง เราเห็น-เรารู้-เราเข้าใจ**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น