“…การตายนั้น จึงว่า
‘มีวิญญาณหรือว่ารู้’ก็ได้
หรือว่า‘บ่มีวิญญาณ บ่ว่ารู้’ก็ได้
เปรียบให้ฟังซื่อ ๆ มันเป็นเรื่องสมมติ
เขาเว้าอย่างไร เราไม่รู้จัก
(หาก)เรารู้จักแล้วเนี่ย บ่ต้องถามไผทั้งหมด
เพราะเรารู้เด๊
สมมติว่า ๑…๒…
เอาเงินใบละบาทมาวางไว้นี้
เฮาก็จิรู้จักว่าเลข ๑ ใบละบาทอันนี้
ครั้นเอาใบละ ๑๐ บาทมา…ก็ว่าเลข ๑ กับ ๐
ใบละ ๑๐ บาท เฮาจิรู้จักจังซั่น-เราจึงบ่เก้อเขิน
แม้จิเรียนหนังสือเป็น เฮาจิรู้จัก
เรียนหนังสือบ่เป็น เฮา(ก็)จะรู้จักใบละ ๑๐ บาท
ใบละ ๑๐๐ บาทนี่ เฮาจิรู้จัก-เพราะเราเคยจับนี่
มันสมมติเปรียบให้ฟังซื่อ ๆ
นี้เป็นวิธีที่การมาแก้ปัญหาให้ฟังในมื้อนี้
ก็บางทีอาจจะถูกใจก็ได้ ไม่ถูกใจก็ได้
คำว่าถูกใจ-ไม่ถูกใจนี่ มันเป็นจังใด๋
แน่ะ อยากฮู้จักจังซั่นอีกตื่ม !
เพราะการถาม มันบ่มีการสิ้นจบเป็น
*คำว่า‘ถูกใจ’นั้น มันบ่แม่นถูกหมากหัวใจพู่นเด๊
มันถูกใจกิเลส
กิเลสนั่นมันถูกใจ-มันบ่ถูกใจ
อันกิเลสนั่นมันดีใจ-มันเสียใจ พอใจ-ไม่พอใจ
ดีใจ-เสียใจ เป็นกิเลสทั้งนั้น*
**อันตัวจิตใจเราจริง ๆ เป็นจังใด ?
จิตใจจริง ๆ นั้น มันซื่อ ๆ**
จึงว่า คือ(กัน)กับฟืนกับไฟนั่นแหละ
ไฟไหม้หมดแล้ว มันซื่อ ๆ-มันซื่อ ๆ อยู่
ขี้เถ้านั้น ครั้นมันยังเป็นฟืน-เป็นไม้อยู่…ไฟมันไหม้
ดังนั้น กิเลสก็เหมือนกับไฟนั่น-มันร้อน
บัดนี้ไฟไหม้ฟืนหมดแล้ว ฟืนไม่มี-เป็นขี้เถ้า
ไฟไปไหม้ขี้เถ้านั้นได้บ่ ?
บ่ไหม้ได้ นี่มันเป็นอย่างนั้น-มันสมมติ(นะ)
จึงว่ามันพูดยาก-เรื่องจังซี่ มันพูดยากจริง ๆ
เพราะว่า**ต้องปฏิบัติ-ต้องปฏิบัติ**
*ถ้าไม่ปฏิบัติแล้ว ไม่เข้าใจ*
ที่หลวงพ่อหรืออาตมาให้ความคิด-ความเห็น
ตามทัศนะความคิด-ความเห็นของหลวงพ่อ
เป็นอย่างซั่น
*ใครจิว่าจังใดก็เรื่องของคนอื่น
เรื่องของคนอื่น อย่าเอามาเฮ็ด(เป็น)เรื่องของเฮา
ถ้าหากเฮาไปเอาเรื่องของคนอื่น
มาเฮ็ด(เป็น)เรื่องของเรานั้น ก็ทุกข์แล้ว*
ชีวิตนั้นจึงว่า เฮาจิเอามาเว้ากันได้ยาก
ชีวิตนั้นคืออะไร ? อย่างนั้น-อย่างนี้…โอ้ย
ชีวิตก็คือความเป็นอยู่นั่นแล้ว
เป็นอยู่อย่างใด ชีวิตก็เป็นอยู่จังซั่น
*คนจึงบ่คือกัน ผู้ทุกข์ก็มี-ผู้บ่ทุกข์ก็มี*
พอกลาง ๆ ก็มี คนที่รวย ๆ ก็มี คนที่จน ๆ ก็มี
แน่ะ! เป็นจังซั่น
บัดนี้คนที่เรียนหนังสือ
ได้(เรียน)หนังสือหลาย ๆ ก็มี
คนที่เรียนหนังสือได้พอปานกลางก็มี
คนที่บ่เคยได้ฝึก-ได้เรียน ก็มี
แต่ว่าเรื่องเงินนี่ ฮู้จักคือกันหมด
ใบละ ๑ บาท ใบละ ๑๐ บาท ใบละซาว(๒๐)บาท
ใบละ ๒๐ บาท-ใบละ ๑๐๐ (บาท) ฮู้จักหมดทุกคน
คนที่เรียนหนังสือ-ก็รู้จัก คนที่ไม่เรียนหนังสือ-ก็รู้จัก
เรื่องเงิน
ครั้นจิว่าเรื่องชีวิต
จึงว่าชีวิตนั้น เฮาจิจับมาว่าให้ฟังบ่ได้
มันบ่เป็นตน-เป็นตัว
วันนี้ที่อาตมาได้มาให้ข้อคิด
เป็นเครื่องเตือนจิต-สะกิดใจ
ของพวกท่าน เอ้อ! พวกคุณแล้ว
ก็เอาไปพิจารณาเอาเอง
การจะแก้ปัญหา-แก้ข้อสงสัยนั้น
อาตมามีอุดมการณ์อย่างนี้
ใครจะพูดยังไง ก็เป็นเรื่องของคนนั้น-คนนี้
ดังนั้น **การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น
จึงว่าปฏิบัติที่ตัวเอง ไม่ต้องไปเข้าป่า-เข้าดง
เข้าภู-เข้าถ้ำที่ลึก ที่คนไม่พบ-ไม่เห็นนั้น
ไม่ต้องไปอย่างนั้นก็ได้ อยู่ที่ไหนก็ได้**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น