“…**(เมื่อความคิดลดน้อยลงไป ตัวความรู้มากขึ้น)
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะรู้สมุฏฐานการคิด
จิตใจเราจะเปลี่ยนที่ตรงนี้อีกพักหนึ่งครับ**
จำให้มันดีตอนนี้
ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงก็ได้ หรือจะว่าเปลี่ยนแปลงก็ได้
มันจะรู้ปรมัตถ์ครับ
อันที่รู้เรื่องรูป-นามนั้น ยังไม่เป็นปรมัตถ์
มันเป็นเพียง*รู้สมมติ แล้วก็ดีใจ-ไม่ใช่ใจดี
อันนั้นดีใจว่าเราได้รู้ธรรมะ-เห็นธรรมะ-เข้าใจธรรมะ
อันนั้นเป็นลักษณะดีใจ แต่ไม่ใช่ใจดี
ตอนนั้นน่ะเป็นวิปัสสนู*
**ตอนนี้พอดีมันคิดมาก เราก็ต้องรู้มาก
รู้เท่าทันกับความคิด
มันคิดปุ๊บ-ทันปั๊บ คิดปุ๊บ-ทันปั๊บ
จิตใจของเรามืดตื้ออยู่แต่ก่อน มันไม่รู้จักทางไป
บัดนี้พอดีทันอันนี้แล้ว มันจะสว่างขึ้นภายในจิตใจ
แต่ไม่ใช่สว่างที่ตาเห็นนะครับ
จิตใจมันจะสว่างขึ้น เบาอก-เบาใจ
เรียกว่า‘ตาปัญญา’
อันนี้ลักษณะปัญญาญาณของวิปัสสนาเกิดขึ้น**
รู้-เห็น-เข้าใจวัตถุ-ปรมัตถ์-อาการ
แล้วก็โทสะ-โมหะ-โลภะเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้ง
และก็รู้-เห็น-เข้าใจเวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ
อันนี้เป็นการจบภาค ๑
บางคนก็รู้ได้ ๒ ครั้ง บางคนก็รู้ครั้งเดียวอันนี้ครับ
รู้ครั้งเดียวนั้นคือว่า รู้แล้วไม่หลง-ไม่ลืม
ครั้นว่า ๒ ครั้ง ต้องจิตใจเปลี่ยน ๒ ครั้ง
เป็นมรรค-เป็นผลขึ้นมาทันที
บางคนก็เป็นเพียงมรรค ผลยังไม่เกิด
บางคนก็ได้ทั้งมรรค-ทั้งผล
**เมื่อรู้อันนี้แล้ว จิตใจของคนนั้น
น้ำหนักสมมติเอานะครับ ที่ผมเคยสอบ-เคยถาม
น้ำหนัก ๑๐๐ กิโลแล้วเป็นอย่างไร
จิตใจเบาขึ้นกี่กิโล ?
บางคนก็ชอบพูดว่า ๓๐ กิโล ๔๐ กิโล
๕๐ กิโล ๖๐ กิโล อยู่ในเกณฑ์นี้-เป็นอย่างนั้น
ก็แสดงตัวว่าเป็นพระได้ไหม ? เป็นได้
ถาม(ว่า)เป็นเทวดาได้ไหม ? เป็นได้**
ผมเคยถามอย่างนี้ เด็ก ๆ อายุ ๙ ปี
จะเป็นผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตาม
รู้แล้วก็แสดงท่าทีออกมาเหมือนกัน เป็นอย่างนั้น…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น