“ตั้งใจฟัง มื้อนี้จะให้ข้อคิด
เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจของพวกเรา
วานนี้ให้ไป พอซิจำไปได้บางคน-บางคนก็จำบ่ได้
เพราะฉะนั้นการพูด-การเว้า พูดกับเว้าอันเดียวกัน
ปาฐกถาหรืออธิบายคำเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจ
บางคนนั้นเทศน์ ต้องจับหนังสือมาอ่าน
อันนั้นบ่แม่นเทศน์
อ่านหนังสือหรือไปจำความรู้(ของ)ผู้อื่นไปเว้านั้น
บ่แม่นความเว้าของเรา มันผิด
เพิ่นบ่ให้จำความ(ของ)ผู้อื่นมาเว้า
*พระพุทธเจ้าสอนว่า
‘ให้เราปฏิบัติเอง-รู้เอง-เห็นเอง-เข้าใจเอง’*
อย่างที่ว่าให้ฟังมื้อเช้าวานนี้นะ
การเกิดมาเป็นคนนี่ ยากนัก-ยากหนา
เราซิเห็นได้
บางคน แม่ตั้งท้องมาได้ ๒ เดือน-๓ เดือน
แท้งตายไป บ่ทันได้เกิดเป็นคนก็มี
บางคนเกิดมาเป็นคนได้ ๒ มื้อ-๓ มื้อ ตายไปก็มี
บางคน(เกิดมา)ได้ ๒ เดือน-๓ เดือน ตายไปก็มี
บางคน(เกิดมา)ได้ ๙ ปี-๑๐ ปี ตายไปก็มี
บางคน(เกิดมา)ได้อายุถึง ๗๐ (ปี)-๘๐ ปี *ตายไป
บ่เคยเห็นชีวิตตัวเอง บ่เคยเห็นจิตเห็นใจตัวเอง
เพิ่นว่า‘ชีวิตอันนั้นเป็นหมัน’*
*บุคคลผู้เกิดขึ้นมามื้อเดียววันเดียวก็ตาม
รู้จักชีวิตจิตใจตัวเอง ดีกว่า
มีประโยชน์กว่าบุคคลที่มีอายุเป็น ๑๐๐ ปี*
บัดนี้ การบวชเป็นภิกษุสามเณรก็คือกัน
บวชมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ ถึง ๑๐๐ พรรษา
*บ่เห็นชีวิต-จิตใจตัวเอง บ่เคยเห็นอาการเกิดดับในตัวเอง
การบวชของผู้นั้นเป็นหมัน*
บัดนี้ *บุคคลผู้บวชมามื้อเดียวก็ตาม
ถ้าเห็นชีวิตจิตใจตัวเอง
ดีกว่า มีประโยชน์กว่าบุคคลผู้ที่บวชมา ๑๐๐ ปี*
ฉะนั้น**การที่เรามาปฏิบัติธรรมะนี่จึงจำเป็น
ทุกคนต้องปฏิบัติให้มันเข้าใจจริง ๆ
เมื่อเรามารู้ชีวิตของเรา (รู้)จิตใจของเราแล้ว
มันมีประโยชน์
การบวชก็มีประโยชน์ บัดนี้การเกิดมานานก็มีประโยชน์
ถ้าเรารู้จริง ๆ อันนี้**
**เรามาบวชเรียน เรียนแล้วก็ต้องปฏิบัติ**
บ่แม่นซิ*เรียนแล้วเอาไปอวดเขา ไปว่าเขา*
อันนั้นมันเข้าใจอย่างหนึ่ง มันก็ดี
เพิ่นว่า‘มอด-มอดหากินไม้ มอดหากัดใบลาน’
แล้ว*ผลประโยชน์บ่เกิดขึ้นในตัวเรา!*…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น