“…**การปฏิบัติธรรม
จึงต้องปฏิบัติจริง ๆ ให้เข้าใจจริง ๆ
ให้เห็นแจ้ง-รู้จริงจริง ๆ จึงนำไปสอนคนอื่น
(เราต้อง)รับรองได้จริง ๆ**
*ถ้าหากรับรองคำพูดตัวเองบ่ได้-ผิด
เพิ่นเว้าอย่างหนึ่ง-ไปปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซิใช้ได้บ่ ?*
ต้องพยายามปฏิบัติตรงกับคำพูดของเรา
คำพูดของเราเป็นอย่างนี้ มันต้องตรง
เรื่องธรรมะ-มันต้องตรงแท้ ๆ ผิดบ่ได้
ผิดเคลื่อนไปนิดเดียว พลาดไปโลด
ฉะนั้นจึงว่า‘มีวิปัสสนู-มีวิปลาส-มีจินตญาณ’
(มันเป็นสิ่ง)ตรงกันข้าม เพื่อทำลายวิปัสสนา
*ตัวปัญญาของวิปัสสนาจะเกิดขึ้นได้ยาก
เพราะวิปัสสนู-เพราะวิปลาส-เพราะจินตญาณ*
ถ้าหากว่าครูบาอาจารย์ผู้ที่มาสอน
รู้จักวิปัสสนูดี-รู้จักวิปลาสดี-รู้จักจินตญาณดี
ผู้ที่เดินตาม-บ่ขัดข้อง เพราะผู้นั้นรู้จักเอาแล้ว(ว่า)
ผู้นี้เป็นวิปัสสนูแล้ว คอยแก้ไขวิปัสสนูออกไปเลย
เอาแล้ว-ผู้นี้เป็นวิปลาสแล้ว คอยแก้ไขวิปลาสออกไปโลด
เอาแล้ว-ผู้นี้เป็นจินตญาณแล้ว คอยแก้ไขจินตญาณออกไป
บ่ได้เสียเวลาที่เดินตาม
บัดนี้คนผู้ที่บ่รู้จักไปสอน คือว่าเมื่อกี้นี้ที่ไปหา(พระ)
(เมื่อเดิน)สวนทางกัน
คล้าย ๆ กับว่า(เราเดิน)ออกจากวัดนี้ไป
(พระที่เราไปหา เดิน)เข้ามาในวัดเรานี้
(แต่)เราบ่รู้จัก(พระ)นี่
เราซิไปหา(เพิ่น) (เรา)ซิตามเพิ่นพบบ่ ?
เพิ่นเข้ามาในวัด (ส่วน)เราไปพู้น-ขึ้นรถไปแล้ว
เพิ่นมาหาเราบ่เห็น (เรา)ขึ้นรถหนีโลด
ฉะนั้น การปรารถนาถึงพระศรีอริยเมตไตรยก็คือกัน
เราบ่รู้จักพระศรีอริยเมตไตรย เราซิไปหาเพิ่นได้อย่างใด
เราต้องทำตัวให้เป็นพระศรีอริยเมตไตรย
เป็นลูกศิษย์เพิ่นเสียก่อน
พระศรีอริยเมตไตรยอายุ ๘๔,๐๐๐ ปี อันนั้นมันไกล
เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้านี่นะ
เพิ่นนี้แหละอาจเป็นพระศรีอริยเมตไตรย
อย่างนั้นก็ได้คือกัน
‘พระ’แปลว่าประเสริฐ ‘ศรี’แปลว่างาม
บ่แม่น สี-ตัว ส.เสือ
(แต่เป็น)ศรี-ตัว ศ.ศาลา แปลว่างาม
คนงามก็ต้องมีศีล
คนบ่งาม-หน้าตาบ่งามซิมีศีลบ่ ?
ก็มักโลภ-มักโกรธ-มักหลง
‘พระศรี’อันนี้ จึงว่า‘กำจัดกิเลสอย่างกลางได้’
‘อริ’แปลว่าข้าศึก ‘ยะ’แปลว่าพ้นไป
พระศรีอริยเมตไตรย มันอยู่ใกล้ ๆ เรา
คนผู้บ่เข้าใจแท้ ๆ มันก็อยู่ไกล
ฉะนั้น *การซอกหาสวรรค์-นิพพานก็ดี
ซอกหาไปนอกตัวของเราแล้ว
ยากที่จะเห็นได้ ยากที่จะรู้ได้
บางทีตายเปล่า-บ่รู้แล้ว หากไปซอกหานอกตัว*
เพิ่นสอน**‘ให้เราหาในตัวของเรานี่ มันมีอยู่นี่
สวรรค์มันมีอยู่นี่ นิพพานมันก็มีอยู่นี่
นรกมันก็มีอยู่นี่ เปรตมันก็มีอยู่นี่
สัตว์เดรัจฉานก็มีอยู่นี่ อสุรกายก็มีอยู่นี่’** เพิ่นว่า
ตามตัวหนังสือ ‘อสุรกาย’แปลว่าคนอ่อนแอ
ทำการทำงานบ่เข้มแข็ง
แล้วคนอ่อนแอ ทำงานบ่เข้มแข็งจะใช้ได้บ่ ?
‘ก็บ่ได้’ ตำราเพิ่นว่า
หลวงพ่อปฏิบัติ รู้จักว่า
‘อสุรกาย’ แปลว่าไกลนัก
ไกลจากความจริง ไกลจากสัจธรรม
หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ ‘อสุรกาย’ตัวนี่
‘สัตว์เดรัจฉาน’ คือบ่รู้จักอาย
หลวงพ่อเปรียบเอาคือตัวหมา
หรือตัวสุนัขนี่ มันอยากขี้-มันก็ขี้
มันอยากเซิง(สมสู่)-มันก็เซิง มันอยากนอน-มันก็นอน
เดรัจฉาน คือคนบ่มีความละอายนี่นะ
บ่ละอายต่อคำพูดตัวเอง
บ่ละอายต่อการกระทำที่ผิดของตัวเอง
บ่ละอายต่อหมู่-ต่อเพื่อน เอิ้น‘สัตว์เดรัจฉาน’
แปลว่าคนบ่รู้จักอาย
‘เปรต’ แปลว่ากินบ่พอ-หิวอยู่ตลอดเวลา
ปากมันน้อย ๆ ท้องมันใหญ่
มีนิทานเรื่องหนึ่ง-ครูบาเว้าให้ฟัง
‘มีเปรตอยู่จำนวนหนึ่งนอนร้อง อยากกินน้ำ อยากกินน้ำ
บัดนี้มีพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมา
พระที่ติดตามพระพุทธเจ้าไปมี ๕๐๐ รูป ถาม(ว่า)ร้องหยัง ?
เปรตตอบอยากกินน้ำ
(พระว่า) น้ำไหลพราก ๆ อยู่นั่น เป็นหยังบ่กิน ?
พระพุทธเจ้าถาม(ว่า) ทำไมไม่กินน้ำ ?
(เปรตตอบ) บ่เห็นน้ำ
พระพุทธเจ้าเลยให้ภิกษุจำนวนที่ไปกับพระองค์
เอาบาตรตักน้ำให้เต็มทุกรูป
(แล้วบอกเปรตว่า) อ้าปากสิ
(แล้วเทน้ำจากบาตร)กรอกใส่ปาก(เปรต)หมดทั้ง ๕๐๐ ลูก
(แล้ว)ถาม(เปรตว่า) อิ่มบ่ ?
(เปรตตอบว่า) น้ำขนาดนั้นนิดเดียวเอง พอชุ่มคอ’
ความหิวเพิ่นถึงเรียกว่า‘เปรต’
อันนี้จึงเข้าใจว่าเปตรหิวอยู่แท้ ๆ บ่เซาจักเทื่อ
ให้รู้จัก
**ครันสอนนักธรรมให้รู้จัก
อย่ารู้จักแต่ตัวหนังสือ ต้องรู้จักตัวเราเป็น ๆ นี่**
‘เปรต-สัตว์เดรัจฉาน’ หมายถึงบ่รู้จักอาย
‘อสุรกาย’ หมายถึงอยู่ไกลจากคำสอนของพระพุทธเจ้า
ให้เรารู้จักอย่างนั้น…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น