หลักของพระพุทธศาสนา – วิธีดับทุกข์แบบของพระพุทธเจ้า (๗/๑๐)
“…สมมติเราไม่ได้เข้าไปอยู่ในบ้าน ไม่ได้เข้าไปในห้อง
ไม่ได้เข้าไปอยู่ในมุ้ง ออกมาอยู่ข้างนอก
เราอยู่นอกความคิดทั้งหมด
ถอนตัวออกมาอยู่นอกความคิดได้แล้ว
เมื่อเป็นดังนี้ มันคิดเวลาใด-เรารู้
แม้กระทั่งนอนหลับ การพลิกกาย-เราก็จะรู้
เพราะสติมันเต็มส่วนขึ้นมา
คนที่เห็นความคิดของตัวเอง
เรียกว่า‘ได้กระแสพระนิพพาน’
การจะเห็นกระแสความคิด เห็นตัวชีวิต-จิตใจ
ไม่ใช่ว่าจะต้องไปนั่งหลับตา
แล้วเพ่งเห็นสี เห็นแสง-ผี-เทวดา นรก-สวรรค์
อันนั้นมันหลงอยู่ในความคิด
ยังออกจากความคิดไม่ได้
ดับทุกข์ไม่ได้แบบนี้
ต้องแบบลืมตา
ทำการทำงานได้ ไปไหนมาไหนก็ได้
เห็น! ไม่ต้องหลับตา**
เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว
เรียกว่า‘สมมติบัญญัติ เราเห็นแล้ว
แล้วก็ปรมัตถ์บัญญัติ-อรรถบัญญัติ-อริยบัญญัติ’
‘ปรมัตถ’ แปลว่าของจริง
‘อรรถะ’ แปลว่าลึก
คือ **จิตใจมันคิด-มันนึก มันลึก-มันจริง
แต่ยากที่บุคคลจะเห็นได้-รู้ได้
จำเป็นต้องเป็นคนที่มีสติเข้าไปรู้-เข้าไปเห็น**
หรือจะว่า เข้าไปสอดรู้-สอดเห็น
‘อรรถ’ในที่นี้ ก็หมายถึงมรรค ๘ คือ
โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล
สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล
อนาคามิมรรค-อนาคามิผล
อรหัตตมรรค-อรหัตตผล
**คำว่า‘มรรค ๘’ มีหลายซับ-หลายซ้อน
ส่วนที่พูดนี้ พูดตามความจริง-พูดตามความเห็น
ในลักษณะที่ว่าจะเอาไปดับทุกข์จริง ๆ
ไม่ใช่พูดส่วนตำรา
เมื่อเห็นตัวนี้แหละ เรียกว่า‘เห็นอรรถบัญญัติ’
อรรถะตัวนี้บัญญัติขึ้นมา
วิธีที่จะเห็นได้ก็คือ ให้เอาสติมาดูจิต-ดูใจ
เพราะว่าจิตใจนั้น มันไม่เป็นตนเป็นตัว-ไม่เป็นรูปเป็นร่าง
‘อรรถะ’ แปลว่าลึก-ยากที่บุคคลจะรู้ได้
ผู้ที่จะรู้ได้นั้น ต้องเป็นอริยบุคคล
‘อริยบัญญัติ’ ก็คือเห็นแล้ว-ปราบได้
ไม่ให้ความหลงผิดเกิดขึ้น
จึงเรียกว่า‘อริยบุคคล’
‘อริ’ แปลว่าข้าศึก
‘ยะ’ แปลว่าพ้นไป
คือ มีตัวสตินี้แหละ มันเป็นข้าศึกกับตัวความหลง
มันก็ไปฆ่าตัวหลง
ฆ่าตัวโทสะ-โมหะ-โลภะ…๓ ตระกูลนี้
ตัวสติ-สมาธิ-ปัญญานี้เอง เป็นข้าศึกกับอันนั้น
เมื่ออันนี้มีแล้ว อันนั้นเกิดขึ้นไม่ได้
นี้ชื่อว่า‘เราปฏิบัติได้’
การปฏิบัติอย่างนี้-ปฏิบัติได้
ให้ปฏิบัติไป-ปฏิบัติไป อย่าย่อหย่อน**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น