“…เรามาเว้าเรื่องอาบัติต่าง ๆ
ยกตัวอย่างเช่น อาบัติปาราชิกนี่
เสพเมถุน ๑ ภิกษุเสพเมถุน-ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุลักของเขาราคา ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฆ่าสัตว์…มนุษย์นอกครรภ์-ในครรภ์ ต้องอาบัติปาราชิก
บัดนี้ภิกษุหรือสามเณรก็ตาม พูดอวดอุตริมนุสธรรม
คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์(ที่)ไม่มีในตน
ขาดจากความเป็นภิกษุ ขาดจากความเป็นสามเณร
บัดนี้ เสพเมถุน ๑ คะเจ้าหมายถึงเพศตรงข้าม
อย่างเพศผู้หญิงหรือสัตว์ตัวเมีย (นี่)ในตำรา
*‘เสพเมถุน’ หมายถึงมีความคิดโง่ ๆ ความคิดอวิชชา
‘เสพ’ แปลว่าอยู่นำ
อยู่นำความคิดอันโง่ ๆ ความคิดของอวิชชานั้นแหละ*
เอิ้นเสพเมถุน เสพเมถุนอย่างนั้น
จึงว่า **‘อย่าอยู่กับความคิดอันโง่ ๆ’**
*‘ลักของเขา’ บัดนี้
อย่าไปจำคำพูดของผู้อื่นมาเว้า*
อันนี้(คะเจ้าก็ว่า) ลักของเขาต้องเป็นเงิน-ทอง
คำว่า‘เสพเมถุน’ ต้องหมายถึงเพศตรงข้าม
ต้องเสพแท้ ๆ คะเจ้าว่าอย่างนั้น
ฆ่าสัตว์บัดนี้ หมายถึงฆ่ามนุษย์นอกครรภ์-ในครรภ์
ฆ่าตายแท้ ๆ ตำราคะเจ้าว่าอย่างนั้น
*‘ฆ่าสัตว์’ หมายถึง ความคิดประเภทนั้น ๆ-ญาณประเภทนั้น ๆ
สามารถทำงานอันนั้นได้ทุกคน แต่บ่ทำ
มันบ่ทำ-สิ่งนั้นเลยเป็นหมัน’ เช่นว่าชีวิตเป็นหมัน*
เพิ่นว่าอย่างนั้น
*‘พูดอุตริมนุสธรรม’ คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์
อันปุถุชนคนธรรมดาบ่สามารถที่(จะ)แทง
ที่(จะ)เจาะเข้ามาอย่างนั้นได้*
เช่น ปุถุชนคนธรรมดา
เมื่อพูดความจริงให้ฟังแล้ว-บ่พอใจ เคียด-โกรธขึ้นมา
จึงว่า‘คนมันเป็นอย่างนั้น’
*ชื่อว่า‘คน’-คนนั้นมันมีหลายอย่างอยู่ในนี่
เราต้องคัดหา-เลือกหา*
ตอนนี้จิตใจเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปอีกสภาพหนึ่ง
ครั้งที่ ๓ จึงจะรู้อย่างนี้ได้
*เมื่อจิตใจบ่เป็นอย่างนี้ จึงรู้บ่ได้*
**บัดนี้เราต้องทำไป มันมารวมกัน-จตุตถฌาน**
‘จตุ’แปลว่ามารวมกัน ญานทุกประเภทมารวมกัน
เขาซิว่าอย่างภาษาที่เรียนกัน หมายถึง
**ธาตุดิน-ธาตุน้ำ-ธาตุไฟ-ธาตุลมเลิกกัน อย่าทำงาน
อย่างเรามี ๔ คน ถึงเวลาเลิกแล้ว…พัก-หยุดงาน
บ่ทำงาน-บ่ทำหน้าที่แล้ว ถึงเวลาเลิกแล้ว
ครั้นบ่ทำงานแล้ว-มันตายไป บ่แม่น
แต่จำพวกนี้แหละ
เมื่อหยุดงานแล้ว งานอันนั้น-บ่เป็นหน้าที่ที่ทำ
ซึ่งคะเจ้าว่า‘หยุดงาน’
‘จตุตถฌาน’ แปลว่ารวมกันแล้วสั่งเลิก
คือเราสั่งกัน(ว่า)‘เลิกเลย’
(เช่น)ทำวัตรแล้วเลิก เลิกพร้อมกัน
อันนั้นคือกัน หยุดงาน-บ่ทำ
เรียกว่า‘จตุตถฌาน’
‘ปัญจมฌาน’ แปลว่าบ่มีทุกข์
พอพวกนั้นหยุดงานแล้ว พวกนี้ก็บ่มีทุกข์*
*(ถ้า)พวกนั้นทำงานมา พวกนี้ก็มีทุกข์*
เพิ้นเอิ้น ‘อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปไปตามเรื่องไปเลยนี่
เป็นโสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ’ ไป
เรื่องนี้เป็นเรื่อง‘ปฏิจจสมุปบาท’ อันนั้นเป็นตำรา
มันบ่แม่นเป็นของจริง คืออย่างหลวงพ่อเว้าเดี๋ยวนี้
ผมกล้ายืนยันรับรองได้ **ทุกคนปฏิบัติต้องรู้อย่างนี้**
ครั้นผิดจากนี้ไป เข้าตำราแล้ว-เข้าตำราแล้วเป็นหยัง ?
ก็ไปจำเอาตำรามาเว้าแล้ว
ครั้นไปจำเอาตำรามาเว้า เป็นอย่างใดนี่ ?
(ก็)เป็นมอดกินหนังสือ-มอดกัดไม้แล้วนี่ บ่ได้เข้าใจ
แต่ว่าตำราดีอยู่
ทรงจำเอาตำรา-แล้วมาปฏิบัติอีกตื่ม เข้ากันได้
*ครั้นได้จำเอาตำรา-บ่ปฏิบัติซือ ๆ บ่แม่น*
นี่เป็นอย่างนี้ …”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น