“…พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า
‘สัตว์ทั้งหลายคือเราตถาคต’ ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉานนะ
สัตว์มนุษย์นี่เองที่เป็นสัตว์ประเสริฐ! คือยังไง ?
(คือ)*เมื่อยังคว่ำหน้าอยู่ ก็เหมือนกัน*
พระพุทธเจ้าของเรา เมื่อเกิดมาทีแรก
ก็เป็นคนธรรมดาสามัญชั้นปัญญาชน
แต่(เมื่อยัง)ไม่รู้-(ก็)คว่ำหน้าอยู่เช่นเดียวกัน
เรียกว่า‘เป็นปุถุชน’
เหมือนกันกับพวกเราในยุคนี้-สมัยนี้นี่เอง
บัดนี้(คำว่า) ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต’
เมื่อพระองค์หงายหน้าขึ้นมา หรือมายเกลียว
นอตที่อัด-ขันแน่นเข้ามานั้น(ก็)คลายออก
บ้านผมเรียกว่า‘คลายเกลียวออก’
มีกุญแจปากตายหรือกุญแจเลื่อน กุญแจอะไรก็ตาม
นอตที่มันขันแน่นอยู่ แล้วคลายออกให้หมด
อันนั้นแหละ เรียกว่า‘คลายเกลียวออก’
ของที่*คว่ำหน้า คือไม่รู้ความจริง*นั่นเอง
คว่ำหน้าไว้-เป็นอย่างนั้น เรียกว่าคือกัน
บัดนี้ **‘สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต’
เพราะว่ารู้แจ้ง-เห็นจริงตามความเป็นจริง
เป็นได้เช่นเดียวกัน**
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเอาไว้ว่า
**‘สัตว์ทั้งหลาย เราผู้เป็นตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น
แล้วจึงนำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย ให้พวกเธอทั้งหลาย
จงประพฤติปฏิบัติตามอย่างเราตถาคตนี่
ก็จะรู้-จะเห็น-จะเป็น-จะมีอย่างเราตถาคตนี่’**
ท่านสอนอย่างนั้น
เมื่อสอนอย่างนั้น ก็ต้องรู้อย่างนั้น-อย่างที่พระองค์นั้น
*เมื่อเราไม่ประพฤติ-ปฏิบัติตาม ก็จะรู้เหมือนพระองค์ไม่ได้*
ดังนั้น*การให้ทาน-การรักษาศีล การทำกรรมฐานนั้นดีแล้ว
แต่มันยังไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทำความรู้สึกตัวนี้เอง*
คำว่า‘วิปัสสนา’ มันก็เป็นเพียงสมมติ-ชื่อมันเท่านั้นเอง
‘วิปัสสนา’มันเป็นภาษาที่พูด ภาษา-ศัพท์แสงอะไรไม่รู้
หลวงพ่อไม่รู้หรืออาตมาไม่รู้ แต่รู้จักว่า‘วิปัสสนา’-รู้
**‘วิปัสสนา’…แปลว่ารู้แจ้ง-รู้จริง ต่างเก่าล่วงภาวะเดิม’**
*เมื่อจิตใจของเรายังมืด ยังไม่มีความสว่างภายในจิตใจ
จะเป็นวิปัสสนาไม่ได้*
ต่อเมื่อ**เราทำความรู้สึกตัว-ตื่นตัว รู้สึกใจ-ตื่นใจ
ในการทำ-ในการพูด-ในการคิด
มีความสว่างขึ้นภายในจิตใจ เหมือนกับหงายของที่คว่ำ
คลายหรือมายเกลียวที่อัดแน่นออก เบาขึ้นมา
นั่นแหละคือวิปัสสนา**
**‘วิปัสสนา’…จึงว่ารู้แจ้ง-รู้จริง เห็นแจ้ง-เห็นจริง
เมื่อรู้แจ้ง-รู้จริง เห็นแจ้ง-เห็นจริงแล้ว
ก็ต่างเก่าล่วงภาวะเดิม ต่างเก่าจริง ๆ
ต่างจากความเป็นปุถุชน หรือต่างจากความไม่รู้
จึงว่าล่วงภาวะเดิม ล่วงจากภาวะความเป็นปุถุชน
ล่วงจากภาวะเดิม ล่วงจากภาวะที่มันมืด
มาอยู่ความที่มันไม่มืด**
ทีแรกเหมือนกับที่เราอยู่ในถ้ำ (แล้ว)เราออกจากในถ้ำ
เมื่อในขณะที่เราอยู่ในถ้ำ
เราไปไหน-มาไหนก็ต้องมีไฟ ถ้าไม่มีไฟ-ก็ไปไม่ได้
**บัดนี้เราออกจากถ้ำ ออกจากในถ้ำมาอยู่ปากถ้ำ
หรือออกจากถ้ำ ไปอยู่ไกล ๆ ถ้ำ
(เราก็)มองเห็นถ้ำ มองเห็นรูในถ้ำ
และมองเห็นรูปถ้ำ มีลักษณะสัณฐานยังไง-ต้องรู้
อันนี้แหละคือวิปัสสนา**
ดังนั้นเมื่อเปรียบเข้ามา**ภายในจิตใจของเรา
มันนึก-มันคิดยังไง ก็รู้
คิดดี-ก็รู้ คิดชั่ว-ก็รู้ คิดไม่ดี-ก็รู้ คิดไม่ชั่ว-ก็รู้
อันนี้เรียกว่า‘เราออกจากความคิด
เราเห็นความคิด เราเข้าใจความคิด
เมื่อเห็นความคิด เข้าใจความคิด
มันก็ไม่ได้อัดแน่นอยู่ภายในจิตใจ เราก็วางมันได้
ความคิดที่มันคิดขึ้นมา เราก็ปล่อยมันได้
เรียกว่า‘วางมัน’ก็ได้ ‘ปล่อยมัน’ก็ได้
หรือว่า‘รู้เท่าทันมัน’ก็ได้ มันไม่ถูกปรุง-ไม่ถูกแต่งไป
อันนี้แหละจึงว่า‘ต่างเก่า-ล่วงภาวะเดิม’**
ดังนั้น**การศึกษาอย่างนี้
จะบวชเป็นพระก็ได้ บวชเป็นเณรก็ได้
ไม่ต้องบวชเป็นพระก็ได้ ไม่ต้องบวชเป็นเณรก็ได้
จะให้ทานก็ได้ รักษาศีลก็ได้
ไม่ให้ทานก็ได้ ไม่รักษาศีลก็ได้**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น