“…(เมื่อรู้จักทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตาแล้ว)
เมื่อรู้จักจังซี่แล้ว ก็รู้จักสมมติโลด
อาตมาจึงว่า‘บ่กลัวผี-บ่กลัวเทวดา’
**สิ่งที่สมมติขึ้นในโลกนี้ ให้รู้-ให้เห็น-ให้เข้าใจ
แล้วก็สัมผัสได้ทุกอย่าง**
ผู้ใดมาถามเรื่องใด ก็พูดไปตามอุดมการณ์ของตัวเอง ที่รู้-ที่เห็นนั้น
เข้าใจจังซั่น
เมื่อรู้จักสมมติครบถ้วนจบทุกสิ่ง-ทุกอย่างแล้ว ก็รู้จักศาสนา
ศาสนานั้น พ่อแม่ครูบาอาจารย์เคยสอนมาว่า(คือ)‘คำสั่งสอน
ผู้ใดฮู้อันใด ก็เอาความนั้นแหละมาสั่งสอน’
‘ศาสนา’ จึงว่าเป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้
จึงมีหลายศาสนา
พุทธศาสนาบัดนี่ **‘พุทธะ’แปลว่าผูู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบานด้วยธรรม
การรู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม ก็คือรู้ตัวเรานี่แล้ว
การทำ-การพูด-การคิดนี่แล้ว
อันนี้แหละเห็นธรรม** คือเห็นอันนี้-(ตัว)อาตมา
แต่อื่น ๆ นั้น อาตมาบ่ได้เห็นอยู่ตลอดเวลา
(ส่วน)**อันนี้เห็นอยู่ตลอดเวลา
จิหลับตา-ก็เห็น ลืมตา-ก็เห็น ย่างไปไส-มาไส…ก็เห็น
เห็นอยู่อย่างนั้น ก็เห็นตัวเองนี่เด๊**
บาปบัดนี้ *‘บาป’ก็คือความบ่ฮู้จัก-(คือ)ความโง่
คือมืดอยู่ในจิต-ในใจนี่แหละ*
บุญบัดนี้ **‘บุญ’คือเห็น-บุญคือรู้
บุญคือสะอาด บุญคือสว่าง
ผู้ใดจะมาหลอก-มาตั๋ว บ่เชื่อ
บาป-บุญ นรก-สวรรค์…บ่เชื่อ
เพราะตัวเองรู้แจ้ง-เห็นจริง**
ดังนั้นความคิดจึงมีมาก กิเลสนั้นก็มีมาก
เพราะไม่สามารถที่จะเอามาบอกมาเล่าเป็นข้อ-เป็นตอน
เรื่องนั้น-เรื่องนี้ได้ เพราะหลวงพ่อก็บ่เคยได้ศึกษาเล่าเรียน
เรียนก็เรียนแต่ภาษาที่ปฏิบัติตัวเองนี่แหละ
จึงว่า**ให้รู้ตัวเองนี่แหละ**
เมื่อพูดถึงกิเลสมากมาหลายเรื่องแล้ว
ก็พูดถึงพระไตรปิฎกอีกตื่มเทื่อหนึ่ง(อีกครั้งหนึ่ง)
พระไตรปิฎกนั้น เฮาเข้าใจกันว่า ‘๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์’
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ แล้วก็ปู่ย่าตาทวดเล่าให้ฟัง(ว่า)
‘พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวมกัน ๒ ปิฎกนี้เป็น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
(ส่วน)พระอภิธรรมปิฎกเดียว ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์’
เรียนบ่ครบได้(เรียนไม่รู้จบ)
จึงว่า*อันความคิดก็เหมือนกันนั่นแหละ
คือ(เหมือน)กับน้ำที่สะอาด เอาสีอันใดมาใส่
ก็ไป(ตาม)สีอันนั้นหมด ความคิดนั้นก็คือกัน
แล้วแต่มันจะปรุงไป มันจะปรุงไปยังไงก็ปรุงไป
แต่เราเห็นว่ามันเป็นทุกข์
อันความทุกข์กับกิเลสนี้ มันเป็นอันเดียวกัน
จึงว่าพูดให้ฟังสั้น ๆ ‘อันกิเลสกับความคิดนั้นเป็นอันเดียวกัน’
คิดดีก็เป็นกิเลส คิดชั่วก็เป็นกิเลส
เพราะบ่ดี-บ่ชั่ว…ความคิดนี้ มันเป็นอย่างนั้น*
ดังนั้นคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น
ก็มีกาย ๑ วาจา ๑ ใจ ๑
มันมารวมอยู่กับกาย-กับวาจา-กับใจนี้
ครั้นจะว่ากันเป็นพระสูตร ก็พระสูตร ๑ ก็คือกาย
พระสูตร ๑ ก็คือวาจา พระสูตร ๑ ก็คือใจ
จึงว่า ๓ ปิฎกนี้
ดังนั้น*อันความคิดนี้ มันคิดอยู่ตลอดเวลา
เหมือนกับน้ำไหลอยู่จังซั่นแหละ*
นี่พอที่จะเข้าใจแล้วเรื่องความคิดอย่างนี้…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น