“เมื่อทำวัตรเช้าจบแล้ว ก็จะได้ให้ข้อคิด
เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจของพวกเราที่มาปฏิบัติธรรม
เช้าวานนี้ได้พูดเรื่องศรัทธา-เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
วันนี้ก็จะพูดต่อไปเรื่อง‘ทาน’
ท่านว่า ‘การให้ทานนี้มีอานิสงส์มาก’
โดยเฉพาะการให้ทานในพระพุทธเจ้า หรือบูชาพระพุทธเจ้า
‘ทาน’ กับ ‘บูชา’ นั้นเหมือนกัน
ทาน-ก็เอาให้ บูชา-ก็เอาให้เหมือนกัน
แต่การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
การบูชาพระพุทธเจ้า ก็ย่อมชนะการบูชาทั้งปวงได้
เดี๋ยวนี้-สมัยนี้
เรามีการบูชาด้วยดอกไม้-ธูปเทียน ของหอม เสื้อผ้า ยารักษาโรค
ทานทุกสิ่ง-ทุกอย่าง เราได้ทำกันมา
แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าเป็นทานอันสูงสุด
เคยได้ยินครูบาอาจารย์ หรือพ่อแม่ปู่ย่าตายายพูดให้ฟังว่า
การทานด้วยวัตถุ ข้าวตอกดอกไม้-ของหอม ธูป-เทียนทั้งหลาย
แม้จะหนาแน่นตั้งแต่พื้นดิน จนถึงอกนิษฐพรหม
ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าทาน(ให้)พระพุทธเจ้า หรือบูชาพระพุทธเจ้า
**การบูชาพระพุทธเจ้านั้น ต้องประพฤติธรรม-ต้องปฏิบัติธรรม
รู้ธรรมสมควรแก่ธรรม จึงจะชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่ง
แล้วการปฏิบัติธรรม-รู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรมนั้น
หมายถึงเรารู้อะไร-เราเห็นอะไร-เข้าใจอะไร ?
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติอย่างยิ่ง ?
เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาจริง ๆ
จึงจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้
มิฉะนั้นแล้ว เราจะไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนาเอาเลย
จะเข้าใจแต่เปลือกหรือกระพี้ของมันเท่านั้น
ถ้าหากเป็นเนื้อ-เป็นปลา เราก็จะได้กินแต่ก้าง
(ได้กิน)แต่กระดูกของมัน เนื้อแท้-ไม่ได้กิน**
ที่ว่า‘ทานธรรม-ย่อมชนะทานทั้งปวงนั้น’
เราพูดกันได้เต็มบ้าน-เต็มเมือง เด็ก ๆ ก็พูดได้
คนที่เคยบวชเรียน-เขียนอ่านมา ก็พูดเป็น
แต่ยังไม่ปรากฏว่า
มีบุคคลใด-บุคคลหนึ่งมารับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า
ว่ามันคือการทานสิ่งนี้แหละ ไม่เคยมี
ตั้งแต่หลวงพ่อเกิดมาจนถึงปัจจุบันนี้
หลวงพ่อไม่เคยได้ยินมาก่อน
**การบูชาพระพุทธเจ้านั้น เราต้องปฏิบัติที่ตัวเรา
เมื่อเราปฏิบัติที่ตัวเรา ก็คือการปฏิบัติพระพุทธเจ้า
การบูชาตัวเรา ก็คือการบูชาพระพุทธเจ้า
เมื่อเราบูชาแล้ว ก็เป็นการบูชาพรรคพวก-เพื่อนฝูง
(เป็นการบูชา)ญาติพี่น้อง-บ้านเมืองของเราด้วย
เมื่อเราเคารพตัวเราแล้ว
ก็เป็นการเคารพพี่น้อง-เพื่อนฝูง
เคารพประเทศชาติบ้านเมือง
เป็นการเคารพไปทั่วโลกทีเดียว
ที่เรียกว่า‘บูชาพระพุทธเจ้า’
เพราะว่าพระพุทธเจ้าก็คือคนทุกคนที่ว่ามาแล้วนั่นแหละ
แต่ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
เพราะพืชพันธุ์ที่จะทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้านั้น
มีอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ยกเว้น**
ดังนั้น การบูชาพระพุทธเจ้า จึงเป็นการบูชาที่สูงที่สุด
คือบูชาคนที่มีจิตใจสูง หรือที่เรียกว่าเป็นมนุษย์
คือเป็นผู้มีมานะพยายาม
เพราะเป็นผู้ที่หักห้ามจิตใจที่เลวทรามได้
**จิตใจที่ฝึกฝนดีแล้ว จะนำสุขมาให้
ส่วนจิตใจที่ไม่ได้ฝึกฝนนั้น จะนำมาแต่ความเลวทราม
ความสับสนวุ่นวาย ความชั่วร้ายมาสู่เรา
เมื่อตัวเรามีความทุกข์
มีความเดือดร้อน-ความสับสนวุ่นวาย
ไปอยู่กับสังคมใดแล้ว สังคมนั้นก็พลอยได้รับทุกข์
ได้รับความเดือดร้อนสับสนวุ่นวายไปด้วยกันทั้งหมด**
มันไม่ถูก…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น