“…*เรื่องจิตใจนี่ จึงว่าเป็นสิ่งที่บุคคลเห็นได้ยาก
ต้องพิจารณาจริง ๆ
แต่ว่าผู้ฮู้(ที่พูด)ว่า’ฮู้เด๊’ มันบ่ค่อยเห็นเด๊
มันรู้คิด-อันหนึ่งเด๊ มันเห็นความคิด-อันหนึ่งเด๊
อันฮู้คิดไปนั้น-บ่แม่นเห็นคิด คิดไปนั่น-มันฮู้คิด
มันเข้าไปในความคิด* เพิ่นว่าจังซั่น
จึงว่าสัญญาเฮาสิเข้าไปฮู้อันนั้น แล้วสัญญาบอกว่าตัวก.ไก่ เขียนจังซั่น
ง.งู จ.จาน อิหยังพวกเนี่ย ญาพ่อบ่ฮู้จักอันเนี่ย
ตัวด.เด็ก ฎ.ชฎาอิหยัง ย.ยักษ์-ย.เยิก เขียนจังซั่น
อันนั้นเป็นสัญญาภายนอกเด๊นั่น เฮาต้องเรียนจังซั่น
*อันตัวสัญญาอย่างที่ญาพ่อว่า บ่ต้องเรียนก็ได้
ฮู้จริง ๆ-หยั่งฮู้แท้ ๆ เพราะมันมีในเรา*
เรื่องรูป-เรื่องนาม เรื่องทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตา
เรื่องสมมติ เรื่องศาสนา เรื่องบาป-เรื่องบุญ
เรื่องโทสะ-โมหะ-โลภะ เรื่องกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน
เรื่องศีล-เรื่องหยัง รู้แท้ ๆ เพราะมันมีในเฮา
เพิ่นเอิ้น*‘สัญญาเข้าไปรู้’ อันสัญญาตัวนั้นเกิดมาจากธรรมชาติ*
เพราะมันมีธรรมชาติ ๒ อย่าง
ธรรมดานี่ ธรรมดาก็มี ๒ อย่าง
จึงว่าของที่ดี เฮาเอาอิหยังงำไว้(ปิดบังไว้)
บ่มีผู้มาเปิด เฮาก็บ่เห็นแล้ว
ลองมีผู้มาหงายหน้าขึ้นเนี่ย ของอันนี้มีบ่ ?
เพชรอยู่นี่-เห็นบ่ ? เห็นโลดบัดเดียว
อย่างญาพ่อว่านี่ เห็นโลดอันนี้-เข้าใจโลด
เพราะ*จิตใจคิดเด๊ มันก็ต้องมี-มันก็มีทุกคนเด๊*
บัดนี้ คนพัฒนาเป็นพระพุทธเจ้า
ดังนั้นคนธรรมดานี่แหละ อันเป็นพระพุทธเจ้านะ
อย่าสิเข้าลึกเกินไป แต่ก็บ่แม่นห้ามดอก
ให้คิดไปมาก ๆ ก็ดีคือกัน
พระพุทธเจ้าจึงเป็นคนธรรมนี่เอง จึงบ่มีวิตกกังวลกับไผ-กับใครว่าซั่น
บ่ตั๊ว บ้านญาพ่อเรียกว่า‘บ่มีวิตกกังวลกับไผ’-ว่าซั่น
ไผสิเฮ็ดอิหยัง-เป็นเรื่องของขเจ้า บ่แม่นเรื่องของเฮา
ว่าให้แล้ว-ก็แล้วล่ะ…สิเอา-ก็เอา บ่เอา-ก็แล้วไปล่ะ
ญาพ่อแม่น(ของ)ญาพ่อ ว่าจังซั่น
*แต่(ฮู้เข้าไปในความคิดนี่) บ่ฮู้จักความจริงแล้วนะ*
**อันความโกรธ บ่ได้มีในตัวนี่เด๊
ความโลภ-ความหลงบ่ได้มีในตัวเฮานี่เด๊
อันมีแท้ ๆ ล่ะ (คือ)จิตใจสะอาด-จิตใจสว่าง-จิตใจสงบ
จิตใจบริสุทธิ์-จิตใจว่องไวผ่องแผ่ว
มีอยู่ทุกขณะ-ทุกเวลานาทีทีเดียว
แต่ว่าอันโมหะคลุมไว้-ว่าจังซั่นก็ได้
โลภะคลุมเอาไว้-โทสะคลุมเอาไว้ มาปก-มางำไว้**
คล้าย ๆ คือเฮาสิเปิดประตูออกมานี่ พวกนี้มันอยู่ทางหน้าประตูนี้
บ่ให้เฮาออกประตูได้ อัดแน่นจังซั่น
ก็เหมือนเกลียวนอตนี่ละ-หันเข้า
บ่มีผู้สิมามายเกลียวออกไปจักเทือ มันก็แน่นอยู่จังซั่นแล้ว
เกลียวนอตประตูก็คือกัน
ใส่กุญแจไว้ บ่มีผู้มาไขให้เฮาจักเทือ
เฮาบ่ฮู้จักลูกกุญแจเด๊บัดนี้ ก็บ่มี-บ่ได้เปิดจักเทือแล้ว
เปิดประตูออกมาบ่ได้ ก็มืดอยู่จังซั่นแล้ว
ดังนั้น การให้ทาน-รักษาศีล-ทำกรรมฐานนั้นดีแล้ว
แต่มันแก้ทุกข์บ่ได้
**สิ่งใดที่มันแก้ทุกข์บ่ได้นั้น เพิ่นว่า‘บ่แม่นของจริง’
เพิ่นว่า‘ของจริงต้องแก้ทุกข์เท่านั้น’**
เพิ่นเอาแต่(เรื่อง)ความทุกข์ซื่อ ๆ
*คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด บรรจุลงเรื่องแก้ทุกข์เท่านั้น*
‘มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น-มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่-มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับไป’
เพิ่นว่า-เพิ่นเอิ้น‘อริยสัจ ๔’ ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ๔ ข้อนี้
เพิ่นว่า‘ทุกข์ต้องกำหนดรู้-สมุทัยต้องละ-มรรคต้องเจริญ-นิโรธทำให้แจ้ง’ ว่าซั่น
‘เฮ็ดจังได-เฮาบ่รู้จัก มรรคเป็นจังได-เฮาบ่ฮู้จัก
กำหนดทุกข์จังได บ่ฮู้จักว่าทุกข์’
ทุกข์ว่าผมหงอก-ฟันหัก เนื้อหนังแห้งเหี่ยวไป
อันนั้นก็บ่แม่นอยู่ ‘มันเป็นธรรมชาติมัน’-ว่าซั่น
*ทุกข์เพราะคิด-เนี่ยทุกข์
เฮาเคลื่อน-เฮาไหว เฮาบ่เคยเห็นจักเทือ*
อย่างเราพริบตาเนี่ย ฮู้
รู้สึกบ่-ลองพริบตาดูซิ รู้สึกบ่ฮึ-รู้สึกทุกครั้งบ่ฮึ ?
ไม่ทุกครั้ง นาน ๆ จึงค่อยรู้-แม่นบ่ ?
เฮาบ่ได้กำหนด-มันก็บ่ฮู้ แม่นบ่ ?
มีผู้ถามว่า‘พริบตา-รู้สึกไหม ?’ ว่าซั่น
รู้จักทันที-แม่นบ่ ?
นั่นแหละเพิ่นว่า*‘สัญญา-ความหมายรู้จำได้’
มันมีอยู่แล้ว แต่เฮาหากบ่ฮู้จัก*
สัญญาอันนี้-มันตาเฮาฮู้นี่เด๊
สัญญา-ญาพ่อว่า‘ความหมายรู้จำได้’
มันหายใจเข้า-หายใจออก รู้
อันนี้เด๊ สัญญา-ความหมายรู้จำได้…บ่แม่นสัญญาอยู่ภายนอกเด๊
แต่มันก็เป็นภายนอกคือกัน
เพราะคนมาว่าอยู่แต่เปลือกนอกนี้ บ่ได้ว่ากันถึงจิต-ถึงใจจักเทือ…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น