“…(เมื่อเอาสติมาดูความคิด
มันคิด รู้-เห็น-เข้าใจ-สัมผัสได้แล้ว)
ให้เราเห็นวัตถุ-เห็นปรมัตถ์-เห็นอาการ
‘วัตถุ’ หมายถึงของที่มีในโลก
ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวคนและจิตใจของคนและสัตว์
‘ปรมัตถ์’ หมายถึงของที่มีอยู่จริง
กำลังเห็นอยู่-เป็นอยู่เฉพาะหน้า สัมผัสได้ด้วยใจ
‘อาการ’ หมายถึงการเปลี่ยนแปลง
สมมติ-น้ำสีเต็มกระป๋อง เดิมคุณภาพดี ๑๐๐%
ถ้าเอาไปย้อมผ้า มันจะติดเนื้อผ้าไป ๑๐๐%
*เมื่อเรารู้-เราเห็น-สัมผัสได้ทางจิตใจ
น้ำสีปริมาณเต็มกระป๋องเหมือนเดิม แต่คุณภาพเสื่อมไปแล้ว
เอาไปย้อมผ้า จะไม่ติดเนื้อผ้าอีกเลย
อันนี้ต้องเห็น-ต้องรู้จริง ๆ*
แล้วเห็นโทสะ-โมหะ-โลภะ
แล้วให้เห็นเวทนา-เห็นสัญญา-เห็นสังขาร-เห็นวิญญาณ
เห็น-รู้-สัมผัสได้ เข้าใจจริง ๆ เรื่องนี้-ไม่ต้องสงสัย
ตอนนี้จะเป็นปีติเพียงเล็กน้อย
*ปีติจึงเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเบื้องสูง
เราไม่ต้องข้องแวะกับปีตินั้น เราต้องมาดูความคิด*
นี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ขั้นต้น
ของการเจริญสติแบบนี้ของผู้มีปัญญา
*ให้ดูความคิดต่อไป*
มันจะปรากฏมีความรู้-หรือญาณ-หรือปัญญาญาณเกิดขึ้น
เห็น-รู้-เข้าใจกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-กรรม’
ฉะนั้น ความยึดมั่นถือมั่นจะจืดลง-คลายลง-จางลง
เหมือนกับน้ำสีที่ไม่มีคุณภาพ ย้อมผ้าจะไม่ติด
ก็จะเป็นปีติขึ้นมาอีก ไม่ต้องข้องแวะกับปีตินั้น
*ให้ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกเสีย*
*ให้ดูความคิดต่อไป ดูจิตใจที่กำลังนึกคิดอยู่*
มันจะมีญาณชนิดหนึ่งปรากฏเกิดขึ้น
เห็น-รู้-เข้าใจ ‘ศีล ศีลขันธ์-สมาธิขันธ์-ปัญญาขันธ์’
หรือ ‘อธิศีลสิกขา-อธิจิตตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา’
‘ขันธ์’ แปลว่ารองรับ-หรือต่อสู้
‘สิกขา’ แปลว่าบดให้ละเอียด-หรือถลุงให้หายไป
ศีล จึงเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
กิเลสอย่างหยาบ คือ โทสะ-โมหะ-โลภะ นี่เอง
(รวมถึง)กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-กรรม
เมื่อโทสะ-โมหะ-โลภะ
กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-กรรม จืดจางคลายไปแล้ว
ศีลจึงปรากฏ*
สมาธิ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง
กิเลสอย่างกลาง คือความสงบ
คือเห็น-รู้-เข้าใจ จำพวกกามาสวะ-ภวาสวะ-อวิชชาสวะ
เพราะกิเลสเหล่านี้เป็นกิเลสอย่างกลาง ทำให้จิตใจสงบ
อันนี้เป็นอารมณ์หนึ่งของการเจริญสติแบบนี้
เมื่อรู้อย่างนี้-เห็นอย่างนี้
มันจะไปรู้การให้ทาน-รักษาศีล-ทำกรรมฐานอีกด้วย
ทุกแง่-ทุกมุม…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น