“…**ความทุกข์ ไม่ใช่ผู้อื่นทำให้เรา
เราทำเอาผู้เดียว เราสร้างเอาผู้เดียวเรา
เราหยุดแล้ว ก็แล้วไป
ถ้าหากเราไม่หยุด ยิ่งทำเข้าไป-ก็ยิ่งทุกข์เข้าไป**
อันนี้ที่เรามาประชุมกันอย่างนี้
ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นอย่างนี้
ผู้ใดพูดอย่างไร-เรารับฟัง แต่อย่าไปแบก
ครั้นผู้ใดพูดที่ใด เก็บมาแบกไว้หมด
โอ…เต็มทีแล้ว
อย่างที่ผมว่าให้ฟังเมื่อเช้าวานนี้ครับ
มีบาดแผลอยู่หน้าแข้ง ที่อื่นไม่สำคัญเท่าใดครับ
อันนี้พ่อเล่าให้ฟังแต่เมื่อยังน้อย
ครั้นเป็นแผลอยู่หน้าแข้ง
เราเดินไปไร่-ไปนาแต่เช้า
ใบหญ้ามันผ่านถูกหน้าแข้ง
ให้คิดว่า ตรงอื่น-มันไม่อยากไปถูกใบไม้หรือใบหญ้า
มันอยากไปถูกแต่ที่มันเป็นแผลนั่นแหละครับ
อันนี้ให้เข้าใจว่า เราไปเก็บแต่เรื่องอื่นมาคิด
แผลอยู่หน้าแข้งเรา *เราต้องแก้ตัวเรานี่
อย่าไปแก้ผู้อื่น*
เราไม่ดีที่ใด *คอยดูตัวเรา*
‘โอ๊ย! ดีแล้ว’-เฉยได้ เราดีที่ใด-เราเฉยได้
อันนี้ ครั้นผู้ใดพูดอยู่ที่ใด-เก็บมา
กูผิดอันนั้น กูทำอันนี้
กูดีแล้ว หมู่ยังว่า
อันนั้นแหละแบกแล้ว เขาว่า‘คนแบกโลก’
เราดีแล้ว จะเก็บมาคิดทำไม ?
เราชั่วแล้ว ต้องแก้ไขเท่านั้นเอง
ที่ผมว่านี่ ใบไม้มันสะกิดแต่แผลตรงนั้น
ครั้นว่าอย่างนี้ ไม่รู้จัก
ผมจึงเปรียบเทียบอีกแบบหนึ่งว่า
เหมือนกับเสี้ยนกับหนาม-มันตำเรา บ้านผมเรียกว่า‘มันปัก’
มันเป็นหนอง-มันเจ็บ
แต่ความจริง เราอยากเอาเสี้ยน-เอาหนามนั้นออก
แล้วไปหาหมู่ เอาเข็มมาสะกิดปลายหนาม
‘เจ็บ ๆ’ ว่านั่น
ผลที่สุด เอาออกไม่ได้-บางคน
มันเจ็บมาก เลยไม่ให้หมู่เอาออก
เสี้ยนหนามเลยปักอยู่นั่นตลอดเวลา
บางคนผู้ฉลาด ไม่เจ็บ-ทน
(บอก)ผู้ที่จะมาเอาออกให้เรา
‘เออที่ตรงนั้นแหละ เออสะกิดที่ตรงนั้นแหละ’
รู้จัก เพราะเสี้ยนปักเจ้าของนี่
เขาเอาเสี้ยน-เอาหนามออกให้เราแล้ว
หนองหรืออันที่มันเจ็บ ก็เลยหายไว ๆ ครับ
อันนี้ก็คือกัน เปรียบเทียบให้ฟังเฉย ๆ
*อย่าไปเอาเรื่องของคนอื่นมาแบก
ให้เราแก้ตัวเรา*อย่างนี้…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น