“…ถ้าหากว่ามีการให้ทาน-รักษาศีลจริง ๆ แล้ว
ต้องแน่นอน
คำว่า‘ทาน’ในที่นี้ ก็ไม่ได้หมายถึง(ให้)ทานวัตถุ
**ทานอันนี้ คือทานความคิด
ทานความคิดที่มันคิดปุ๊บขึ้นมา ทานได้ทันที
เราเห็นอันนี้(ความคิด) เราก็มาอยู่กับการเคลื่อนไหว
พอดีมันคิดขึ้นมา เราก็ทำความรู้สึกตัว
มันก็วางตัวความคิดตัวนั้นเลย
มันจะเข้ามาอยู่กับความรู้สึก
พอดีมาอยู่กับความรู้สึก
มันจะคิดปุ๊บขึ้นมา เราจะรู้-จะเห็น-จะเข้าใจ
มันจะไม่มีอารมณ์เลย**
เรียกว่า‘ธรรมารมณ์เกิดกับใจ-ไม่มี’
*ถ้าเราไม่เห็นตัวนี้ มันจะเป็นอารมณ์-เป็นธรรมารมณ์
เรียกว่า‘โลกียธรรม’*
โลกียธรรม-โลกุตรธรรม-โลกวัชชะนี้
เราพูดได้ เป็นภาษาคำพูด
*‘โลกียธรรม’นั้น หมายถึง
อย่างที่พวกเรา ๆ เดี๋ยวนี้แหละ
มุ่งหวังว่าจะทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง
แต่การกระทำของเรามันยังไม่แจ้ง
เมื่อมันยังไม่แจ้ง เราก็แสวงหา
หรือปฏิบัติไปจนกว่ามันจะแจ้ง*
**‘พอแจ้ง’ ก็เรียกว่าถึงโลกุตรธรรม**
*เมื่อเรายังไม่แจ้ง เป็นโลกียธรรม*
จึงว่า*โลกียธรรมกับโลกุตรธรรม-อยู่ด้วยกัน*
ถ้า**หากว่าเรารู้โลกุตรธรรมจริง ๆ แล้ว
ก็แยกกันได้ หรือออกจากกันได้**
*ถ้าเรายังไม่รู้จริง ๆ จะแยกกันไม่ได้*
นี่ ! มันเป็นอย่างนั้น
ดังนั้น สมมติเอานะ
น้ำขุ่น-น้ำสกปรก
ถ้าเรามีน้ำใส ๆ น้ำสะอาดสักหยดเดียวหยดลงไป-เทลงไป
น้ำขุ่นนั้น ก็จะจางทันทีเลย
**ความคิดของเราก็เหมือนกัน
ความโกรธ หรือเรียกว่า โทสะ-โมหะ-โลภะนี่
เมื่อมันโกรธขึ้นมา เรามีความเห็นแจ้งปุ๊บเดียว
ก็เหมือนเอาน้ำใส ๆ หยดเข้าไปนั่น
มันจะจางคลายออกไปทันทีเลย**
ส่วนอัน*ที่เราโกรธไปนั้น คือเราไม่รู้
เราหลงใจนั่นเอง หลงกาย-หลงใจเรานี่เอง*
ดังนั้นจึงว่า พยายามพูดกันเรื่องนี้ให้มาก
ในระยะพรรษานี้ พระ-เณรก็ต้องเข้าพรรษาแล้ววันนี้
ญาติโยม-ผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องปฏิบัติกันจริง ๆ จัง ๆ
การงานอย่างอื่นนั้น-ไม่เป็นธุระของเรา เอาไว้ก่อน
**การงานของเรา คือการปฏิบัติทำทางจิต-ทางใจ
ก็ต้องปฏิบัติทุกขณะ ทุกลมหายใจ**
**การรู้อย่างนี้ ไม่มียกเว้นเลย
จะเป็นผู้หญิง-ผู้ชาย เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นคนหนุ่ม-คนสาว
รู้ได้จริง ๆ ถ้าทำจริง ๆ
รับรองได้จริง ๆ รับรองคำพูดของผมที่พูดนี้
รับรองว่าต้องเป็นจริง ๆ ไม่มากก็น้อย
เพราะมันเป็นอย่างนั้น**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น