หลักของพระพุทธศาสนา – วิธีดับทุกข์แบบของพระพุทธเจ้า (๒/๑๐)
“…**เมื่อรู้จักรูป-นาม
มันเป็นสภาวธรรมที่มีจริง-เห็นจริง
ตาเห็น-ก็รู้ ใจเห็น-ก็รู้
‘โอ! ธรรมะนี้คือตัวเรา-ตัวคนทุกคนเป็นธรรมะ’
ผู้หญิง-ผู้ชาย เป็นธรรมะทั้งนั้น
คนไทย คนจีน คนฝรั่ง คนอังกฤษ คนเขมร คนอเมริกา
ล้วนเป็นธรรมะ
ธรรมะคือคน คนนี่เองทำ
เลยรู้จักรูปทำ-รู้จักนามทำ
ทำดี เราก็เรียก‘ธรรมะ’
ทำชั่วก็‘ธรรมะ’ เป็นธรรมะฝ่ายดำ-เรียกว่า‘อธรรม’
คำว่า‘ธรรม’ คือทรงไว้
‘โอ! ธรรมะนี่ คือคนจริง ๆ’
เรื่องการปฏิบัติธรรมนี้ เราต้องปฏิบัติที่ตัวเรานี้เอง
ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงสอน
ให้รู้ถึงความดับทุกข์และพ้นทุกข์ได้จริง ๆ
โดยปฏิบัติลงไปที่ตัวของเรานี้**
เมื่อรู้จักว่าคนคือธรรม-ธรรมคือคนแล้ว
เมื่อเห็นธรรม-รู้ธรรมอย่างนี้แล้ว
ก็เลยเข้าใจธรรมว่าถูกสมมติขึ้นมา
สมมติผี สมมติเทวดา
**ทุกสิ่ง-ทุกอย่างเป็นสมมติทั้งนั้น ให้รู้จักจริง ๆ
การรู้จักสมมติอันนี้ เป็นปัญญาเกิดขึ้นข้อแรก
จะว่า‘วิปัสสนา’ก็ได้ หรือว่า‘ปัญญาเห็นแจ้ง’ก็ได้
เห็นโดยชัดเจน ไม่เก้อเขิน
สามารถเรียกมาดู-เรียกมาพิจารณาได้ทุกคน ไม่ปิดบัง
ฉะนั้น คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้น
จึงกล้าพิสูจน์และยืนยันได้
รับรองได้ว่ามันเป็นอย่างนั้น
ถึงจะมีพระพุทธจ้าเกิดขึ้นก็ตาม
ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นก็ตาม
ธรรมะมันมีอยู่แล้ว**
เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็เลยเห็นจริง ๆ
เมื่อเห็นสมมติแล้ว เราก็เลิกไหว้ผี-ไหว้เทวดา
การไหว้ทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เคยทำมานั้น เราเลิกหมด
เพราะเรารู้ว่าธรรมะคือตัวเรา
**ไม่มีสิ่งอื่นใดทั้งหมดที่จะมาบันดาลอะไรให้เราได้
นอกจากตัวเราเองแต่ผู้เดียวเท่านั้น**
อันนี้ก็เลยหมดทุกข์ในเบื้องต้น-ชั้นต้น
คือ ไม่เชื่อผี-เทวดา-ฤกษ์งามยามดี ไม่กลัวฤกษ์ยามอีกต่อไป
เพราะ**สิ่งใด-อันใด ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราโดยเฉพาะ
นี้เรียกว่า‘เราเห็น-เรารู้-เราเข้าใจจริง ๆ’**
จากนั้นก็มามีสติกำหนดรู้
ในการเคลื่อนไหวในอิริยาบถของเราต่อไป
เช่น กำมือ-เหยียดมือ…มีสติเข้าไปรู้
**เมื่อมีสติเข้าไปรู้ ความไม่รู้มันก็หายไปเอง**
*ความไม่รู้นั้น เรียกว่า‘โมหะ’*
**โมหะไม่มี เมื่อมีสติ
โมหะ-โลภะ-โทสะ ความจริงแล้วไม่ได้มีอยู่จริงเลย**
ทำไมจึงว่าไม่มี ?
ผมขอถาม :
ท่านทั้งหลายที่ฟังผมพูดอยู่ในขณะนี้ จิตใจเป็นอย่างไร ?
(ผู้ฟังตอบ : **เฉย ๆ)
อันนี้แหละ เป็นตัวธรรมชาติอันหนึ่ง
มันไม่สุข-ไม่ทุกข์ ไม่ไป-ไม่มา ไม่สั้น-ไม่ยาว
มันมีอยู่แล้ว**
*‘ตัวใจ’ กับ ‘ตัวรูปอันนี้’ มันเป็นคนละส่วน
แต่มันก็อาศัยซึ่งกันและกัน*
**ส่วนที่มองเห็นด้วยตานี้-เป็นรูป
ส่วนจิตใจที่มันนึกมันคิด-เป็นนาม**
เมื่อรู้จักเรื่องสมมติแล้ว
ต่อไปก็รู้จักศาสนา-พุทธศาสนา บาป-บุญ
‘บาป’ คือโง่
‘บุญ’ คือฉลาด
หรือว่ารู้แล้วก็เลิกละความหลงผิดได้-ไปเป็นคนฉลาด
‘ศาสนา’ คือตัวคน
‘พุทธศาสนา’ คือตัวสติปัญญาที่เข้าไปรู้ตัวจิต-ตัวใจ
‘พุทธะ’ แปลว่าผู้รู้
*ศาสนาที่เป็นวัตถุ อย่างวัดวาอาราม
โบสถ์วิหาร-พระพุทธรูป-เจดีย์นั้นก็ดี
ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ดี
แต่เป็นเพียงศาสนาสมมติ ยังแก้ทุกข์ไม่ได้
ทำแล้ว ก็ดีใจชั่วขณะเท่านั้น
‘ดีใจ’กับ‘ใจดี’นั้น ไม่เหมือนกัน
เมื่อเรามาเห็นอันนี้ (เรา)ดีใจ
แต่ตัวใจดีนั้น ยังไม่มี-ยังไม่เห็น
เพราะเรายังไม่เห็นตัวชีวิตของเรา*…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น