รู้สึกกาย รู้สึกใจ 21 กุมภาพันธ์ 2023

“…วิธีพุท-โธ ผมก็ได้ทำมา

วิธีอรหัง ผมก็ทำมา

วิธีพอง-ยุบ ผมก็ได้ทำมา

บัดมาทำวิธีติง-นิ่งนี่แหละ

ผมก็เลยมาตัดคำเว้าของอาจารย์ออก

**‘เฮ็ดซือ ๆ เพียงเอาความรู้สึก

เมื่อรู้อันนี้แล้ว มันรัดกุมหมด’**

ผมเข้าใจอย่างนี้

ผมจึงบ่ได้นำเรื่องวิธีพุท-โธมาสอน

และบ่ได้นำเรื่องอรหังมาสอน

และบ่ได้นำเรื่องพอง-ยุบ มาสอน

**ผมอยากแนะนำแต่อย่างเดียวเท่านี้

เพราะว่ามันรัดกุมทีเดียว

มันสั้นที่สุด อย่างกะทัดรัด

ทุกคนต้องประสบเอาได้จริง ๆ**

จะเปรียบเหมือนดั่งดำดินไปนี่

โผล่ขึ้นกรุงเทพ ฯ โลดบัดเดียว

นี่ผมคิดอย่างนั้น

หรือจะเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง

เราขึ้นเครื่องบินที่สนามบินนี่

ไปลงปุ๊บที่สนามบินกรุงเทพ ฯ ดอนเมืองโน่นทีเดียว

มันเร็วไปอย่างนี้

ฉะนั้นผมจึงอยากเว้าแต่เรื่องนี้

ถ้าให้ผมเว้าเรื่องนี้นะ-บ่เมื่อย ถ้าพูดเรื่องอื่น-ผมเหนื่อย

ถ้าพูดเรื่องนี้-ให้ผมเว้าเท่าใดก็ได้ เพราะผมชอบ-ผมมัก

จะมีเงิน-มีทองนั่นก็ดีอยู่ บ่ได้คัดค้าน

แต่ความสุขประเภทเรื่องเงินทองนั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่ความสุขเรื่องนี้ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ถ้าจะคิดน้ำหนัก

(หากคน)มีเงินล้านบาท

(จะ)มา(ขอ)ซื้อเอาความสุขประเภทนี้ (ให้)ขายซะ

โอ้ย! แล่วเท่านั้น ผมบ่เอาแล้ว

ซิเอามาเฮ็ดหยังเงินล้านบาทนี้ ?

**ความสุขประเภทนี้ ผมว่ามันเหนือเงินล้านบาท

ชีวิตของผมนี้ ผมว่าผมได้ประสบสุขอันนี้

ผมจึงว่า‘บ่เชื่อใครทั้งหมด’** แต่ผมรับฟัง

ครูบาอาจารย์สอนอย่างไร ผมรับฟังหมดทุกองค์

แม้จะเป็นเด็กน้อย ๆ มาสอน ผมก็รับฟัง

แต่ความจริงนั้น กลเม็ด(ที่)เว้านั้นผิดหรือถูก

ผมรับฟังซือ ๆ แต่ผมบ่ค้าน

ผิด-ถูก เป็นเรื่องของเพิ่นเว้า

ถ้าหากเราโง่นั้น เราก็ต้องศึกษา

ตามปกติ ความโง่นี่ต้องมาก่อนหมดทุกคน

ความฉลาดมันจึงมาตามหลัง

ถ้าหากว่าความโง่บ่เกิดขึ้นเสียแล้ว ความฉลาดบ่มี

ผมนึกได้อย่างนี้

เพราะว่าสมัยผมเป็นเณร

ครูอาจารย์สอนให้เฮ็ดไปหมดทุกอย่าง

ถ้าหากผมฉลาดแล้ว ผมบ่ไปงมเฮ็ดอย่างนั้น

ผมเฮ็ดตั้งแต่สมัยผมเป็นเณร เฮ็ดแบบนี้โลด

โอย…ผมซิเลยบ่สึกฮอดปานนี้

ผมซิได้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ซ้ำไป

บางทีอาจจะได้เป็นเจ้าคณะตำบลนำเขาซิเป็นได้

บางทีผมซิได้เรียนนักธรรมตรี-ธรรมโท-ธรรมเอก

สอบเปรียญได้คือเพิ่นอย่างอาจารย์มหานี่ก็ซิได้เด๊อครับ

ถ้าหากผมบวชตั้งแต่พู้น บ่สึกเท่าป่านนี้

นี้แหละ ความโง่ของคนต้องมาก่อนทุกคน-ทุกคนไป

ความฉลาดจึงมาตามหลัง

ความผิดมาก่อน ความถูกต้องจึงมาตามหลัง

เมื่อคนบ่รู้จักความผิดอยู่แล้ว ความถูกต้องไม่มี

**เมื่อรู้จักความผิดและความถูกต้อง ทั้ง ๒ อย่างนี้

จึงเรียกว่าเป็นมัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทานั้น เดินทางเข้าไปสู่จุดนี้แหละ

มัชฌิมาปฏิปทา-เดินทางสายกลาง

รู้จักจุดที่สุดของมันนั่นแหละ

เห็นจุดนี้แหละ เป็นมัชฌิมาปฏิปทา**

จึงว่าบ่ผิด-บ่ถูก อาจารย์องค์ใดสอนก็บ่ผิด-บ่ถูก

คำว่า‘มัชฌิมาปฏิปทา’นี้ แปลว่า

ความเว้าของผมเด๊นี่

ผมบ่ได้เว้าขอผู้อื่นเด๊นี่ ผมบ่ได้รู้ปริยัติ

**เมื่อไปถึงจุดอาการเกิดดับนี่แหละ ‘เป็นมัชฌิมาปฏิปทา’

บอกว่า ‘โอ้! เดินเข้ามานี่แล้ว-ถูกปุ๊บ

เอานี้โลดจุดเดียวเท่านี้เนาะ

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมลงสู่จุดเดียวเท่านี้’

จะเรียนหนังสือได้ ก็มาสู่จุดนี้

เรียนหนังสือบ่ได้ ก็มาสู่จุดนี้

เขียนหนังสือได้อย่างคล่องแคล่ว ก็ซิมาทำงานอันนี้

เขียนหนังสือบ่เป็นจักตัว ก็ซิมาทำงานสู่จุดเดียวเท่านั้น**

นี่ปัญหาของมัน…”

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

————————————————————————————————

※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※

※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※

※ ※

※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※

※ ※

※ อย่าหลงชีวิต ※

※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※

รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ

_/|\_ _/|\_ _/|\_

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *