“…**เมื่อเราเห็น-เรารู้
เราสัมผัสจิตใจที่มันนึก-มันคิด แนบแน่นอยู่ที่ตรงนี้
มันก็เลยไม่หลงตัว-ไม่ลืมตัว ไม่หลงจิต-ไม่ลืมจิต
มันก็เป็นใหญ่ในตัวได้-เป็นใหญ่ในจิตได้ มันก็บังคับตัวได้-บังคับจิตได้
นี่เป็นขั้นต้นที่สุด
ทุกข์ก็เลยไม่เกิดขึ้น ก็เลยเป็นนิโรธ
พ้นไปจากความยึดมั่น-ถือมั่น
พ้นไปจากโทสะ-โมหะ-โลภะที่มันเกิดขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบัน
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนแล้ว-สอนอีกแต่ในเรื่องปัจจุบันเท่านั้น
อันนี้แหละเป็นการพัฒนา-เป็นวิวัฒน์พัฒนา เป็นการทำดีให้ตัวเอง**
‘พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะการกระทำทางจิต’ ท่านว่าอย่างนั้น
อันนี้มันก็มีพร้อมทุกอย่างแล้ว
มีการรักษาศีล-มีการทำกรรมฐาน มีการให้ทานอย่างสูงสุด
ตามคำกล่าว-คำสอนในทางพุทธศาสนา
ทำไมถึงว่าทาน-ทำไมถึงว่าสูง ? อาจจะมีความข้องใจอย่างนี้
**‘ทาน’ ก็หมายถึงเสียสละ
คือใครพูด-ใครกล่าว ก็ไม่ไปสนใจเลย
หูได้ยิน-แต่มันไม่ไปสนใจ มันฟังได้-แต่มันไม่สนใจ
มันสนใจดูอยู่แต่เฉพาะที่จิตใจนี่เอง
คำพูด-คำกล่าวอันนั้น มันจึงไม่เข้ามาได้
อันนี้แหละ ท่านว่าจิตใจสงบ-จิตใจสะอาด-จิตใจสว่าง
มันอยู่ที่ตรงนี้เอง เพราะเห็น-เพราะรู้-เพราะเข้าใจที่ตรงนี้
เรียกว่า‘สะอาด-สว่าง-สงบ’
‘สะอาด’ ก็คือจิตใจไม่ขุ่นมัวนั่นเอง
‘สว่าง’ ก็หมายถึงการเห็นแจ้งนั่นเอง
‘สงบ’ ก็หมายถึงมันไม่ไปยึด-ไปถือนั่นเอง
คือมันไม่ไปยึดมั่น-ถือมั่นนั่นเอง เท่านี้แหละ
เด็กก็ปฏิบัติได้ ผู้ใหญ่ก็ปฏิบัติได้
คน(วัย)กลางคนเป็นพ่อบ้าน-แม่เรือนก็ปฏิบัติได้
อยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติได้ นี้แหละใบไม้กำมือเดียว
แม้ที่สุดเข้าวัดก็ได้ ไม่เข้าวัดก็ได้
รับศีลก็ได้ ไม่รับศีลก็ได้
มันสมบูรณ์แบบแล้ว-อันนี้**
ที่นำมาเล่าให้ฟังนี้ ก็เพื่อเตือนจิตสะกิดใจว่า
**บุคคลที่ไม่เคยเข้าวัด ไม่เคยฟังเทศน์-ไม่เคยฟังธรรม
ไม่เคยให้ทาน ไม่เคยรักษาศีล
ก็สำเร็จได้เช่นเดียวกัน เพราะมันมารวมอยู่ที่จุดนี้นี่เอง**”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น