“…*ความทุกข์นั้นคือโทสะ
ทุกข์เพราะมีโทสะมาทำให้เราโกรธ (ทำ)ให้เราเครียด เราไม่พอใจนี่
ทุกข์เพราะเราหลงนี่*
**ถ้าเราไม่หลง-โทสะก็เกิดขึ้นไม่ได้**
**ถ้าเราไม่หลง-เราไม่โกรธ โลภะก็เกิดขึ้นไม่ได้**
*ทุกข์เพราะสิ่งนี้*
*พระพุทธเจ้าสอน ‘ทุกข์เพราะโทสะ-โมหะ-โลภะมารบกวน
เหมือนกับเราอยู่ในถ้ำมืดปิดอย่างนั้นน่ะ
คว่ำหน้าอยู่อย่างนั้นแหละ
ไม่มีความสว่างภายในจิตใจ’*
**เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด คำสอนของพระพุทธเจ้า**
คนสมัยนี้ว่า ‘ขัดใจ-ไม่พอใจ-ไม่ถูกใจ’
อันขัดใจนั่นถูกแล้ว อันไม่พอใจนั้น-ไม่ถูก
คือพอใจแล้ว มันเจ็บแล้ว
‘ขัดใจ-ถูกใจ’ แปลว่าไม่ถูกใจน่ะ-ไม่ถูก
*มันถูกใจเราจริง ๆ
โทสะมันถูกแล้ว-โมหะมันถูกแล้ว-โลภะมันถูกแล้ว*
**จึงว่า‘ให้ดูไปที่ตรงนี้ ให้เห็นที่ตรงนี้
ให้เข้าใจที่ตรงนี้จริง ๆ’**
*ถ้าหากไม่เห็น-ไม่เข้าใจ-ไม่สัมผัสที่ตรงนี้
ความทุกข์นั้นจะไม่จางคลายลงไปเลย*
แม้จะศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกจนจบก็ตาม
แปลภาสมภาษาคล่องแคล่วว่องไว
รู้จักอรรถ รู้จักแปลทุกสิ่ง-ทุกอย่างก็ตาม
*ถ้าหากยังไม่มาแก้ความสับสนวุ่นวาย
ความเดือดร้อนที่ตรงนี้ ก็ยังไม่สมควร
ยังไม่คุ้มค่ากับความมาเกิดเป็นคน*นั่นเอง
ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
ประมวลลงมาจุดนี้เป็นข้อแรกที่สุด
**เมื่อทำลายโทสะ-โมหะ-โลภะได้
นั่นแหละเรียกว่า‘เรามีศีล’
ศีลจึงเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ**
กิเลสอย่างหยาบ ไม่ใช่ว่า(คือ)เสื้อผ้า
เงินทอง-อะไรต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่อย่างนั้น
อันนั้นมัน(ก็)จริง
*กิเลสอย่างหยาบ คือโทสะ-โมหะ-โลภะนี่เอง
แล้วก็กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-กรรมทำชั่วนั่นเอง
อันนี่แหละ‘กิเลสอย่างหยาบ’*
**เมื่อสิ่งเหล่านี้ลดน้อยลงไป ศีลจึงปรากฏ
เพราะศีลมันหงายหน้าขึ้นมาแล้ว
ศีลนั้นคลายเกลียวที่มันอัดแน่นนั่นออกแล้ว
จึงว่า‘ศีลจึงเป็นเครื่องทำลายกิเลสอย่างหยาบ’
กิเลสอย่างหยาบจางคลายไปแล้ว
ก็รู้แจ้ง-เห็นจริงตามความเป็นจริง คือศีล
‘ศีล’นั้นแปลว่า ปกติกาย-ปกติวาจา-ปกติใจ
จึงเห็นว่ากายปกติ-วาจาปกติ-ใจปกติ
อัน‘ความปกติ’นั่นแหละ เรียกว่า‘ศีล’**
ถ้าเราไปรับศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐
ศีล ๒๒๗ ศีลสามร้อย(สิบเอ็ด)ก็ตาม
*(ถ้า)ยังไม่เห็นกาย-เห็นวาจา-เห็นใจเราปกติ
แสดงว่าอันนั้นเป็น(ศีล)สมมติเท่านั้นเอง
ยังไม่เป็นตัวศีลแท้*
**ตัวศีลแท้-ตัวศีลจริง ๆ นั้น คือความปกติ
เมื่อ(มี)อะไรมาแตะต้อง-สัมผัส(เรา)
เราก็ต้องเห็น-ต้องรู้-ต้องเข้าใจ
เพราะเรามีปกติแล้ว**
สมมติให้ฟัง
เรานั่งอยู่ในขณะนี้แหละ มีคนมาจับมือ
หรือจับแข้ง-ขับขา จับที่ไหนก็ตาม
มี ๒ คน ๓ คน มาจับพร้อมกัน
ก็รู้ปึ๊บพร้อมกันทันที เพราะเรามีปกติแล้ว
ดังนั้น **ความปกตินั่นแหละคือศีล
ศีลจึงเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ**…”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
————————————————————————————————
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว…รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_

ใส่ความเห็น